![]() |
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยา เรื่อง อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต โดยใช้การเรียนรู้ผ่านเกม จากกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทุ่งเทิงยิ่งวัฒนา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | เกวลี บุญเททิม |
Title | การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยา เรื่อง อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต โดยใช้การเรียนรู้ผ่านเกม จากกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทุ่งเทิงยิ่งวัฒนา |
Publisher | สถาบันวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น |
Publication Year | 2566 |
Journal Title | วารสารวิชาการพัฒนาท้องถิ่น |
Journal Vol. | 2 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 13-26 |
Keyword | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, Active Learning, การเรียนรู้ผ่านเกม |
URL Website | https://so19.tci-thaijo.org/index.php/ajld/issue/view/112 |
Website title | Academic Journal of Local Development |
ISSN | ISSN 3057-0735 (Online) |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต โดยใช้การเรียนรู้ผ่านเกม จากกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทุ่งเทิงยิ่งวัฒนา เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนเรื่อง อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต โดยใช้การเรียนรู้ผ่านเกม จากกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทุ่งเทิงยิ่งวัฒนา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจทางการเรียนเรื่อง อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต โดยใช้การเรียนรู้ผ่านเกม จากกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทุ่งเทิงยิ่งวัฒนา มีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 10 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทุ่งเทิงยิ่งวัฒนาการวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องมือการวิจัย 4 ประเภท คือ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 2 แผนแบบทดสอบก่อนเรียน เกมฝึกทักษะ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น 2) สถิติการเปรียบเทียบใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test Dependent 3) สถิติการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม จากกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้เกณฑ์ E1/E2 ในการวิเคราะห์ข้อมูล |