![]() |
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สินค้าคงเหลือ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยการอาชีพขุนหาญ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | เกตุวดี แสงอรุณ |
Title | การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สินค้าคงเหลือ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยการอาชีพขุนหาญ |
Publisher | สถาบันวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น |
Publication Year | 2566 |
Journal Title | วารสารวิชาการพัฒนาท้องถิ่น |
Journal Vol. | 2 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 1-12 |
Keyword | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, โครงงานเป็นฐาน, สินค้าคงเหลือ |
URL Website | https://so19.tci-thaijo.org/index.php/ajld/issue/view/111 |
Website title | Academic Journal of Local Development |
ISSN | ISSN 3057-0735 (Online) |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง สินค้าคงเหลือ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยการอาชีพขุนหาญเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน เรื่อง สินค้าคงเหลือ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยการอาชีพขุนหาญเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สินค้าคงเหลือให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจทางการเรียนเรื่อง สินค้าคงเหลือ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยการอาชีพขุนหาญ มีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 10 คน เป็นนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยการอาชีพขุนหาญการวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องมือการวิจัย 4 ประเภท คือ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน แบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึกทักษะ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น 2) สถิติการเปรียบเทียบใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test Dependent 3) สถิติการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง สินค้าคงเหลือ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน โดยใช้เกณฑ์ E1/E2 ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง สินค้าคงเหลือ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยการอาชีพขุนหาญ คะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนโดยรวมเฉลี่ย 46.66 คะแนนแบบทดสอบหลังเรียนโดยรวมเฉลี่ย 82.91 ซึ่งคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมีพัฒนาแตกต่างกัน พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนเรื่องสินค้าคงเหลือ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยการอาชีพขุนหาญ คะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนโดยรวมเฉลี่ย 9.33 คะแนนแบบทดสอบหลังเรียนโดยรวมเฉลี่ย 16.58 ค่า t-test = 40.40 แสดงว่านวัตกรรมที่สร้างขึ้นทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้นโดยคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ 0.5 3. การจัดการเรียนการสอน เรื่อง สินค้าคงเหลือโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยการอาชีพขุนหาญ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.50/82.91 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 แสดงว่าการจัดการเรียนการสอน เรื่อง สินค้าคงเหลือโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยการอาชีพขุนหาญ ผู้วิจัยนำคะแนนระหว่างเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (E1) มาเปรียบเทียบกับคะแนนหลังทำการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง สินค้าคงเหลือ (E_2) พบว่า โครงงานเรื่อง สินค้าคงเหลือ มีประสิทธิภาพ 82.50/82.91 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ 4. ระดับความพึงพอใจทางการเรียนเรื่อง สินค้าคงเหลือ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยการอาชีพขุนหาญ ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจทางการจัดการเรียนการสอน เรื่อง สินค้าคงเหลือโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยการอาชีพขุนหาญ พบว่า โดยรวมเฉลี่ย 4.56 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53 อยู่ในระดับ มากที่สุด |