![]() |
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาสาขารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | เบญจรัตน์ วุฒิยา |
Title | การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาสาขารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
Contributor | กานต์รวี มะณีล้ำ, วิศรานต์ แก้วนิล, อรวรรณ วนเกิด, อมรรัตน์ กระแสโท |
Publisher | สถาบันวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น |
Publication Year | 2566 |
Journal Title | วารสารวิชาการพัฒนาท้องถิ่น |
Journal Vol. | 2 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 75-92 |
Keyword | การมีส่วนร่วม, การเมือง, นักศึกษาสาขารัฐศาสตร์ |
URL Website | https://so19.tci-thaijo.org/index.php/ajld/issue/view/116 |
Website title | Academic Journal of Local Development |
ISSN | ISSN 3057-0735 (Online) |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) นำเสนอแนวทางการพฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาสาขารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1-3 ทั้งหมด จำนวน 125 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากทาโรยามาเน่ ได้กลุ่มอย่าง จำนวน 95 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.923 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t (t-test) และ ค่า F (One-way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาสาขารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ผลการวิเคราะห์สถานภาพส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม สถานภาพส่วนนักศึกษาของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 24.2 เป็นช่วงอายุ 20-21 ปี มีจำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 47.5 ระดับชั้นปี ชั้นปีที่ 1 จำนวน 38 คน คิดเป็น ร้อยละ 40.0 คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์มีนักศึกษาสาขารัฐศาสตร์ จำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 100.0 รายได้ต่อเดือน 2,000 - 3,000 บาท จำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 54.7 ตามลำดับ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.63, S.D.= 0.497) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านการติดตามข้อมูลข่าวสารทางการเมือง เป็นด้านที่มีระดับสูงสุด มีค่าเฉลี่ยระดับมาก ( ค่าเฉลี่ย = 3.81, S.D.= 0.615) รองลงมา คือ ด้านการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นด้านระดับมาก มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.81, S.D.= 0.582) ด้านการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เป็นด้านระดับมาก มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.72, S.D.= 0.544) ตามลำดับ และสุดท้าย ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นด้านระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย= 3.19, S.D.= 0.801) 2. ผลเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาสาขารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักศึกษาที่มีเพศแตกต่างกันมีระดับการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการมีส่วนร่วมทางการมือของนักศึกษาสาขารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ดังนั้นโดยภาพรวมแตกต่างกัน จึงเป็นสมมติฐานที่ตั้งไว้ นักศึกษาที่มีอายุแตกต่างกันมีระดับการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาสาขารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ นักศึกษาที่มีระดับชั้นปีแตกต่างกันมีระดับการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาสาขารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงปฏิเสธสมมติฐานตั้งไว้ นักศึกษาที่มีรายได้แตกต่างกันมีระดับการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาสาขารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาสาขารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ พบว่า 3.1 ด้านการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ด้านการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง 3.2 ด้านการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ด้านการออกไปใช้สิทธิ 3.3 ด้านการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ด้านการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 3.4 ด้านการติดตามข้อมูลข่าวสารทางการเมือง พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ การติดตามข้อมูลข่าวสารทางการเมือง |