การตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่บ้านหัวแรต ตำบลช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
รหัสดีโอไอ
Creator ชุติมา อิ้วชุมแสง
Title การตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่บ้านหัวแรต ตำบลช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
Contributor นันท์นภัทร พยุงวงษ์, ณัฏฐณิชา เกตุแก้ว, ดรุณี อันชำนาญ, ธนรัฐ ยังงาม
Publisher สถาบันวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
Publication Year 2566
Journal Title วารสารวิชาการพัฒนาท้องถิ่น
Journal Vol. 2
Journal No. 2
Page no. 1-16
Keyword การตื่นตัวทางการเมือง, ประชาชน, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ความเข้าใจทางการเมือง
URL Website https://so19.tci-thaijo.org/index.php/ajld/issue/view/112
Website title Academic Journal of Local Development
ISSN ISSN 3057-0735 (Online)
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชน 2) เปรียบเทียบระดับการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชน ในพื้นที่บ้านหัวแรต ตำบลช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่บ้านหัวแรต ตำบลช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 250 คน สุ่มตัวอย่างแบบสุ่มตามความสะดวก (Convenience sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.904 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานใช้ค่าที (t-test) และค่าเอฟ (f-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในกรณีที่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จะทำการวิเคราะห์ความแตกต่างด้วยวิธีผลนัยสำคัญน้อยที่สุด ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์โดยการพรรณนาแจกแจงความถี่ประกอบตาราง ผลการวิจัย พบว่า 1. ประชาชนบ้านหัวแรต ตำบลช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 146 คน ร้อยละ 58.4 มีอายุ 31-40 ปี จำนวน 54 คน ร้อยละ 21.6 มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท จำนวน 144 คน ร้อยละ 57.6 สถานภาพสมรส จำนวน 135 คน ร้อยละ 54.0 และส่วนใหญ่ระดับการศึกษามัธยมศึกษา/ปวช. จำนวน 100 คน ร้อยละ 40.0 ตามลำดับ พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการตื่นตัวทางการเมือง โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (=3.71, S.D.=0.548) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นด้านที่มีระดับสูงที่สุด (=4.27, S.D.=0.727) อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง (=3.75, S.D.=0.764) อยู่ในระดับมาก ด้านสถาบันครอบครัว (=3.58, S.D.=0.734) อยู่ในระดับมาก ด้านความเข้าใจทางการเมือง (=3.53, S.D.=0.839) อยู่ในระดับมาก ด้านสถาบันสื่อมวลชน (=3.42, S.D.=0.877) อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2. ประชาชนที่มีเพศ รายได้ และสถานภาพ แตกต่างกันมีระดับการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่บ้านหัวแรต ตำบลช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนนี่มีอายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีระดับการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. แนวทางการพัฒนาการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่บ้านหัวแรต ตำบลช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ มีความสำคัญในแต่ละด้าน ดังนี้ คือ ด้านสถาบันครอบครัว ควรส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองอย่างเปิดเผย เพื่อให้เกิดการตื่นตัวทางการเมืองตั้งแต่ในระดับครอบครัว ด้านสถาบันสื่อมวลชน ควรมีการเข้าถึงง่ายเพื่อให้ประชาชนมีการรับรู้ถึงข่าวสารเพื่อช่วยเพิ่มความตื่นตัวทางการเมืองให้กับประชาชน ด้านการไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง ไม่ควรมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง เสียงที่ได้มาควรเป็นเสียงที่บริสุทธิ์จากประชาชน ด้านความเข้าใจทางการเมือง ควรมีสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับการเมือง ที่ใช้ภาษาง่ายและเนื้อหาที่เข้าถึงได้ง่าย เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มวัย และด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง ควรมีกิจกรรมการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี และควรแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองและสังคม เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมือง
สถาบันวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ