การปลดปล่อยอาณานิคมตามแนวทางสำนักอินเดีย: ผู้ที่อยู่ในสถานะรองในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจาก ค.ศ. 1992 ถึง 2022
รหัสดีโอไอ
Creator ธนเชษฐ วิสัยจร
Title การปลดปล่อยอาณานิคมตามแนวทางสำนักอินเดีย: ผู้ที่อยู่ในสถานะรองในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจาก ค.ศ. 1992 ถึง 2022
Publisher สถาบันเอเชียศึกษา
Publication Year 2567
Journal Title เอเชียปริทัศน์
Journal Vol. 45
Journal No. 1
Page no. 1-31
Keyword แนวคิดหลังอาณานิคม, นักคิดหลังอาณานิคมอินเดีย, อินโดจีน, อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
URL Website https://so01.tci-thaijo.org/index.php/asianreview
Website title เอเชียปริทัศน์
ISSN 2673-0650
Abstract บทความฉบับนี้ศึกษาว่าความร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่มรัฐชาติแม่น้ำโขงไหลผ่านนั้นเอื้อประโยชน์ให้แก่ชนชั้นนำทางการเมืองและผลักให้เสียงของผู้ซึ่งอยู่ในสถานะรองนั้นตกอยู่ในสภาวะชายขอบได้อย่างไร พื้นที่ศึกษาประกอบไปด้วยสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมียนมา ไทย กัมพูชาและเวียดนามซึ่งมรดกอาณานิคมในการตีความเชิงพื้นที่และเวลานิยมโดยชนชั้นนำยังคงปรากฎอยู่อย่างมั่นคง ถึงแม้ว่าอาจกล่าวได้ว่ารัฐชาติบางแห่ง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีนและไทยจะไม่เคยตกเป็นอาณานิคมชาติตะวันตกอย่างเป็นทางการ แต่วิธีการจัดการปกครองแบบตะวันตกก็ถูกนำมาประยุกต์ใช้ บทความฉบับนี้ใช้กรอบความคิดการปลดปล่อยอาณานิคมสำนักอินเดียซึ่งปรากฏขึ้นในช่วงเวลาที่มีการต่อสู้ให้อินเดียเป็นเอกราชและเน้นย้ำถึงระบบความรู้ที่ไม่ได้เป็นตะวันตก เสียงของกลุ่มคนที่อยู่ในสถานะรองจึงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ในช่วงเวลาที่ผ่านมาวงวิชาการและปรากฏการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มุมมองซึ่งเป็นวิธีคิดแบบโลกตะวันตกปรากฏอยู่อย่างเด่นชัดจนทำให้ผู้คนที่ไม่ได้เป็นชนชั้นนำในท้องถิ่นแทบจะไม่สามารถแสดงความคิดเห็นของตนได้ บทความฉบับนี้ศึกษาโดยการวิเคราะห์วาทกรรมจากกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศและข้อริเริ่มในระดับภูมิภาคสิบสี่กรอบความร่วมมือ ข้อริเริ่มและกรอบความร่วมมือเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากการตีความซึ่งยึดโยงชนชั้นนำทางการเมืองกับวิธีคิดแบบตะวันตกเป็นสำคัญทั้งในแง่ของพื้นที่ เวลาและสถานะภาพของผู้คน และจึงยังประโยชน์ให้กับกลุ่มชนชั้นนำด้วยกันเอง ในขณะที่ผู้คนที่อยู่ในสถานะรองถูกผลักให้อยู่ในสถานะชายของและปัญหาที่พวกเขาพบเจอก็ไม่ได้รับการแก้ไข บทความฉบับนี้จึงเรียกร้องให้มีการเคารพเสียงของผู้ที่อยู่ในสถานะรองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่มากขึ้น ทั้งด้วยวิธีการให้พื้นที่ให้กับพวกเขาเข้ามามีส่วนร่วมในกลไกระหว่างประเทศและสนับสนุนการมีส่วนออกเสียงในกลไกข้อริเริ่มในระดับภูมิภาค
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ