การพัฒนาเว็บไซต์ “EatRand” เพื่อแนะนำเมนูอาหาร
รหัสดีโอไอ
Creator เอื้อการย์ บินสันเทียะ
Title การพัฒนาเว็บไซต์ “EatRand” เพื่อแนะนำเมนูอาหาร
Contributor ศุภารมย์ พงษ์จะโปะ, สิรีธร ทูขุนทด, สิริลักษณ์ บริรักษ์
Publisher สถาบันวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมและการศึกษา
Publication Year 2568
Journal Title วารสารนวัตกรรมวิชาการ
Journal Vol. 1
Journal No. 1
Page no. 30-46
Keyword การตัดสินใจ, การรับประทานอาหาร, การพัฒนาชุมชน, เว็บไซต์, ระบบแนะนำอาหาร
URL Website https://so11.tci-thaijo.org/index.php/aij
Website title วารสารนวัตกรรมวิชาการ
ISSN ISSN 3057-1367 (Online)
Abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บไซด์ช่วยในการตัดสินใจในการรับประทานอาหาร ในรูปแบบการสุ่มเลือกเมนูอาหาร และแนะนำเมนูอาหาร มุ่งหวังให้เป็นเครื่องมือที่ช่วยผู้ใช้งานในการตัดสินใจเลือกอาหารเมื่อต้องการรับประทาน แต่ยังมีความลังเลถึงรายการอาหารที่จะรับประทานในแต่ละมื้อ โดยเว็บไซต์นี้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่ายและสะดวกสบาย ผู้ใช้งานสามารถเลือกประเภทของอาหาร เช่น ข้าว เส้น และเนื้อสัตว์ จากนั้นระบบจะทำการสุ่มเมนูอาหารที่เหมาะสมให้ และยังมีส่วนของแนะนำร้านอาหาร โดยร้านค้าที่แนะนำจะเป็นข้อมูลของร้านที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา และผู้ใช้งานก็เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา เป็นกลุ่มตัวอย่างที่เลือกในงานวิจัยนี้ด้วยวิธี การเลือกแบบเจาะจง งานวิจัยนี้ มุ่งหวังเพื่อเพิ่มทางเลือกรายการอาหาร และร้านอาหาร ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน และยังช่วยให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ให้แก่ร้านค้าขนาดเล็ก ที่อาจยังไม่มีคนรู้จักมากนัก ยังถือเป็นการพัฒนาชุมชนพื้นที่เล็ก ๆ อีกด้วย การพัฒนาเว็บไซต์นี้ใช้ซอฟต์แวร์ในการพัฒนา คือ Visual Studio Code, CSS, Java Script, PHP, phpMyAdmin, MySQL, Figma และ Google Maps เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการใช้งานบนอุปกรณ์พกพาเป็นหลัก ทั้งนี้โครงการได้ถูกทดสอบและปรับปรุงเพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์สามารถใช้งานได้ดีและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลการประเมินพบว่า คุณภาพของเว็บไซต์ EatRand เพื่อแนะนำเมนูอาหาร มีคุณภาพโดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ 4.67 เมื่อพิจารณาถึงคุณภาพในแต่ละด้านพบว่า คุณภาพตัวอักษรมีคุณภาพค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 4.96 และคุณภาพด้านการแสดงผลหน้าจอมีค่าเฉลี่ยคุณภาพต่ำสุด คือ 4.36 ดังนั้นในการพัฒนาเว็บไซต์ยังคงต้องพัฒนาด้านการแสดงผลหน้าจอให้มีความชัดเจน และง่ายต่อการใช้งานมากขึ้น
Academic Institute for Innovation Development and Education

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ