![]() |
การออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาสุขภาพชุมชน บ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พรพิมล ศักดา |
Title | การออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาสุขภาพชุมชน บ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม |
Contributor | วรารัตน์ วัฒนชโนบล |
Publisher | The Office of Arts and Culture, Surindra Rajabhat University |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล |
Journal Vol. | 14 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 57-71 |
Keyword | สื่อดิจิทัล, ศูนย์การเรียนรู้, บ้านศาลาดิน |
URL Website | https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj |
Website title | วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล |
ISSN | ISSN 2822 - 0617 (Online);ISSN 2822 - 1141 (Print) |
Abstract | บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาสุขภาพชุมชนบ้านศาลาดิน ประเมินความเหมาะสม และประเมินความพึงพอใจสื่อดิจิทัลสำหรับศูนย์การเรียนรู้ ด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน มีวิธีดำเนินการวิจัย ได้แก่ ศึกษาบริบทและอัตลักษณ์ของพื้นที่จากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสำรวจพื้นที่ เพื่อวิเคราะห์โจทย์การออกแบบ กำหนดองค์ประกอบกราฟิกทางทัศนศิลป์และการออกแบบ สร้างแนวคิดการออกแบบ และออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับศูนย์การเรียนรู้ โดยผู้แทนชุมชน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เข้ามามีส่วนร่วมให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ และประเมินความเหมาะสม เพื่อการปรับปรุงผลงาน จากนั้นทำการประเมินความพึงพอใจ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่าง จำนวน 115 คน ด้วยการเลือกแบบบังเอิญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อแปลผลระดับความพึงพอใจ ผลการวิจัย พบว่า การออกแบบชุดสื่อดิจิทัล ได้ประยุกต์ใช้โทนสีหลักจากอัตลักษณ์ชุมชน คือ สีเขียวบัวหลวง และสีน้ำตาลข้าวตังและเรือมาด ผลงานออกแบบประกอบด้วย ตราสัญลักษณ์ การ์ตูนคาแรคเตอร์ดีไซน์ ระบบป้าย นิทรรศการ งานตกแต่ง และสื่อการเรียนรู้ โดยผลงานการออกแบบชุดสื่อดิจิทัล มีความเหมาะสมระดับมากที่สุดทุกด้าน (Mean = 4.77, S.D. = 0.42) และมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (Mean = 4.64, S.D. = 0.51) ซึ่งได้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ ควรเพิ่มเนื้อหาของพืชสมุนไพรที่พบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน และการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนและความเป็นจริงเสริมเข้ามาช่วยเสริมการจำลองการเดินชมสวนสมุนไพร หรือการแสดงวิธีการใช้สมุนไพรแบบ 3 มิติ และควรมีคู่มือการบำรุงรักษาศูนย์การเรียนรู้ เพื่อช่วยทำให้ให้ชุมชนสามารถดูแลรักษาและซ่อมแซมเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง |