การสื่อสารการตลาดงานทัศนศิลป์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย
รหัสดีโอไอ
Title การสื่อสารการตลาดงานทัศนศิลป์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย
Creator จิรัชญานันทน์ ผลัดรื่น
Publisher University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC)
Publication Year 2567
Keyword การสื่อสารทางการตลาด, ทัศนศิลป์ -- การตลาด, ศิลปะ -- การตลาด, ศิลปะ -- แง่เศรษฐกิจ, การสื่อสารกับศิลปะ, อุตสาหกรรมสร้างสรรค์
Abstract การศึกษาวิจัยเรื่อง การสื่อสารการตลาดงานทัศนศิลป์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมของการสื่อสารการตลาดงานศิลปะกลุ่มทัศนศิลป์ 2.) เพื่อศึกษาทิศทางและแนวโน้มของการสื่อสารการตลาดงานศิลปะกลุ่มทัศนศิลป์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ 3.) เพื่อสังเคราะห์แนวทางและรูปแบบการสื่อสารการตลาดงานศิลปะกลุ่มทัศนศิลป์ ใช้ระเบียบ วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กับ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 35 คน โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interviews) และใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 145 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจ แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มหน่วยงานของภาครัฐที่บริหารดูแลแหล่งสนับสนุน หรือจัดงานแสดงศิลปะในประเทศไทย 2. กลุ่มผู้จัดงานเทศกาล นิทรรศการศิลปะ ผู้ประกอบการธุรกิจ แกลเลอรี่ ภาคเอกชนในประเทศไทย 3. กลุ่มศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะในกลุ่มทัศนศิลป์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และ 4. กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารงานศิลปะ เป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ มีประสบการณ์ในด้านการสื่อสารเกี่ยวกับข้อมูล ข่าวสาร ในวงการศิลปะ มีประสบการณ์การสื่อสารการตลาดในวงการศิลปะ ผลการวิจัย พบว่า สภาพแวดล้อมของการสื่อสารการตลาดงานศิลปะกลุ่มทัศนศิลป์ในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ 1. นโยบายของภาครัฐ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) และนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2. สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการสื่อสารการตลาด งานศิลปะกลุ่มทัศนศิลป์ในประเทศไทย และ 3. การสื่อสารการตลาดงานทัศนศิลป์ในประเทศไทยใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ทิศทางและแนวโน้มของการสื่อสารการตลาดงานทัศนศิลป์ในอนาคต จะมีการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ทางสื่อสังคมในเชิงการให้ความรู้ มีรูปแบบเนื้อหาที่หลากหลาย งานศิลปะจะสามารถประยุกต์กลายเป็นงานสื่อสารได้และมีความเป็นสินค้ามากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ เข้ามาใช้เพื่อให้ผู้ชมได้รับความสะดวกในการชมผลงานศิลปะ ประชาชนที่ชมงานศิลปะจะมีอายุน้อยลง สื่อสิงพิมพ์จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามาเพื่อสื่อสารมากขึ้น รวมถึงศิลปินหรือบุคลากรในวงการศิลปะจะใช้ตนเองเป็นสื่อด้วยการสื่อสารผ่านสื่อสังคม การสังเคราะห์แนวทางและรูปแบบการสื่อสารการตลาดงานศิลปะกลุ่มทัศนศิลป์ สามารถสร้างโมเดลการสื่อสารการตลาดงานทัศนศิลป์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย ได้ 4 โมเดล สำหรับบุคลากรของวงการศิลปะ จำนวน 4 กลุ่ม || This research examines visual arts marketing communication to boost the Thai creative industry economy with following objectives: 1.) to analyze the current environment of art marketing communication in the visual arts sector, 2.) to identify trends and directions for enhancing the Thai creative industry in line with national strategies, and 3.) to synthesize effective communication approaches for art marketing in this sector. A mixed-methods approach was employed, combining qualitative research through In-depth Interviews with 35 participants and quantitative research with 145 survey respondents divided into four groups: 1. government agencies managing or supporting art events in Thailand, 2. private sector organizers of art festivals, exhibitions, and galleries, 3. visual artists with reputable standing, and 4. art communication experts. The research findings reveal that the environment of marketing communication in the visual arts in Thailand can be divided into three aspects: 1. government policies, including the 20-year national strategy (2018-2037) and the creative economy policy, 2. environmental factors influencing marketing communication in the visual arts, and 3. the use of integrated marketing communication (IMC) tools in Thailand's visual arts sector. Future directions and trends in visual arts marketing communication will include the use of Integrated Marketing Communication (IMC) through social media to educate and engage audiences. This will involve diverse content formats and the adoption of digital technologies and AI, making art more accessible and appealing to younger audiences while replacing traditional print media. Artists and industry professionals will increasingly leverage social media as a direct communication tool. The study synthesizes four models of visual arts marketing communications to elevate the Thai creative industry economy for 4 groups of personnel in the arts industry.
URL Website https://scholar.utcc.ac.th
Website title UTCC Scholar
The University of the Thai Chamber of Commerce

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ