![]() |
ปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองแฟรนไชส์ซีในฐานะผู้บริโภคของสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองแฟรนไชส์ซีในฐานะผู้บริโภคของสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ |
Creator | วุฒิพร สุวรรณพร |
Publisher | University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC) |
Publication Year | 2566 |
Keyword | แฟรนไชส์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ, การค้าปลีก -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Abstract | ภายหลังเกิดการระบาดของโรคโควิค-19 ธุรกิจแฟรนไชส์ได้รับความนิยมนิยมมากขึ้นจากบุคคลทั่วไป เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ลงทุนง่าย คืนทุนไว มีความน่าเชื่อถือ แต่ถึงแม้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ในปัจจุบันจะมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งสัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เป็นรูปแบบสัญญาสำเร็จรูป ซึ่งสัญญารูปแบบดังกล่าวมักเอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้ผู้ที่เสียเปรียบต้องยอมรับในข้อสัญญานั้นอย่างที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงมักเกิดปัญหาจากกรณีผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์เอาเปรียบผู้รับแฟรนไชส์ แต่ประเทศไทยก็ยังมิได้มีการตรากฎหมายเฉพาะสำหรับธุรกิจนี้ไว้เป็นการเฉพาะ ทำให้เมื่อเกิดกรณีข้อพิพาทขึ้น จึงต้องมีการนำบทกฎหมายอื่นในสังคมมาใช้บังคับโดยอนุโลม ทำให้บทบัญญัติกฎหมายไม่สามารถครอบคลุมถึงปัญหาหากเกิดข้อพิพาทได้ทั้งหมด จากการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ พบว่า ในประเทศอินโดนีเซีย และประเทศออสเตรเลีย ก็มีกฎหมายเฉพาะสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อใช้สำหรับควบคุมธุรกิจดังกล่าว โดยคู่สัญญาต้องไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และในประเทศสิงคโปร์ถึงแม้ว่ากฎหมายของประเทศสิงคโปร์จะมิได้มีกฎหมายสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ไว้โดยเฉพาะ และมีการใช้บทกฎหมายอื่นโดยอนุโลมเหมือนของประเทศไทย แต่ในแง่การคุ้มครองแฟรนไชส์ซี กรณีหากเกิดข้อพิพาทในข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ ก็ยังคงมีการคุ้มครองในด้านของการทำสัญญา หากสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดการจำกัด หรือบิดเบือนการแข่งขันทางการค้า หรือข้อกำหนดอันไม่เป็นธรรม อีกทั้งในประเทศออสเตรเลียยังมีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่ครอบคลุมถึงแฟรนไชส์ซีในฐานะผู้บริโภคอีกด้วย ผู้เขียนจึงเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเห็นควรให้มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ไว้เป็นการเฉพาะ เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้ที่มีอำนาจมากกว่าและอาศัยช่องว่างทางกฎหมายในการเอาเปรียบผู้ที่มีอำนาจน้อยกว่าในการทำสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ || After the epidemic of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). Franchise businesses are becoming more and more popular among the public. Because it is a business that is easy to invest in, returns capital quickly, and is reliable. But even though today's franchise business is growing rapidly. In addition, the contract for operating a franchise business It is a ready-made contract form. This type of contract usually benefits one specific party. causing those at a disadvantage to accept the terms of the contract as cannot be avoided Therefore, problems often arise from cases where franchise business operators take advantage of franchisees. But Thailand has not yet enacted specific laws specifically for this business. Make it happen when a dispute arises Therefore, other laws in society must be applied mutatis mutandis. As a result, legal provisions cannot cover all problems if a dispute arises. From a study comparing with foreign laws, it was found that in Indonesia and Australia There are specific laws for franchise businesses. to be used for controlling such business The contracting party must not violate the said law. To ensure fairness to all parties And in Singapore, even though Singapore law does not have any specific laws for franchising businesses, and other laws are applied mutatis mutandis like those of Thailand. But in terms of franchise protection. If a dispute arises regarding unfair contract terms in the franchise business There is still protection in terms of making contracts. If such a contract creates a restriction or distort trade competition or unfair terms Additionally, in Australia there are consumer protection laws that cover franchisees as consumers. Therefore, the author proposes a solution to the above problems and believes that a specialized franchise business law should be formulated. To prevent infringement of the rights of those with more power and relying on legal gaps to take advantage of those with less power in entering franchise business contracts |
URL Website | https://scholar.utcc.ac.th |
Website title | UTCC Scholar |