![]() |
การศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดขายสลากออมทรัพย์ ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดขายสลากออมทรัพย์ ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย |
Creator | พุฒินี ชุณหโสภาค |
Publisher | University of the Thai Chamber of Commerce |
Publication Year | 2564 |
Keyword | ธนาคารอาคารสงเคราะห์, การส่งเสริมการขาย, การออมกับการลงทุน |
Abstract | การศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดขายสลากออมทรัพย์ ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เกิดจากปัญหาการชะลอการซื้อสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ของประชากรในจังหวัดเชียงราย จึงมีการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อหาแนวในการเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์สลากออมทรัพย์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย 2. ธนาคารจะสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มประชากรในจังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีมาตราส่วนประมาณค่า ผลการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ พบว่า จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง ส่วนมากเป็นเพศหญิง โดยมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 21-40 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพ ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ รายได้ต่อเดือน 30,001-50,000 บาท โดยส่วนมากรู้จักสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยมีช่องทางการรับรู้ผ่านทางออนไลน์ อินเตอร์เน็ต Facebook เป็นต้น ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมาก สนใจในสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการออม ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ คือ รางวัลพิเศษ งบประมาณการซื้อสลากออมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ต่อครั้งอยู่ที่จำนวน 5,001 – 10,000 บาท ส่วนสาเหตุของผู้ที่ไม่สนใจซื้อส่วนใหญ่ คือ ราคาของสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และโดยส่วนมากจะออมเงินไว้กับบัญชีธนาคาร ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดเกี่ยวกับสลากออมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยในภาพรวมและรายด้านมีค่าอยู่ในระดับมาก พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากให้ความสำคัญ โดยมีการจัดลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปค่าเฉลี่ยน้อย ได้ดังนี้ อันดับที่ 1 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อันดับที่ 2 ด้านกระบวนการให้บริการ อันดับที่ 3 ด้านบุคลากร อันดับที่ 4 ด้านราคา อันดับที่ 5 ด้านลักษณะทางกายภาพ อันดับที่ 6 ด้านผลิตภัณฑ์ อันดับที่ 7 ด้านการส่งเสริมการตลาด จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พบว่า อันดับที่ 1 ด้านราคา มีส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์มากที่สุด |
URL Website | https://scholar.utcc.ac.th |
Website title | UTCC Scholar |