แนวทางการแก้ปัญหาการยกเลิกบัตรและการค้างค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็ม กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาลาดกระบัง
รหัสดีโอไอ
Title แนวทางการแก้ปัญหาการยกเลิกบัตรและการค้างค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็ม กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาลาดกระบัง
Creator ศุณิษา คณะสุวรรณ์
Publisher University of the Thai Chamber of Commerce
Publication Year 2564
Keyword ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, พฤติกรรมผู้บริโภค -- การตัดสินใจ, ธนาคารและการธนาคาร -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ, เครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ, บัตรเอทีเอ็ม, บัตรอิเล็กทรอนิกส์
Abstract การศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการยกเลิกบัตรและการค้างค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็ม กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาลาดกระบัง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการผลิตภัณฑ์บัตรอิเล็กทรอนิกส์ 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของ ธ.ก.ส. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มลูกค้าบุคคลธรรมดาที่มีบัญชีเงินฝากและบัญชีเงินกู้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาลาดกระบัง จำนวน 388 ราย กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้จัดการสาขา ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา และหัวหน้าการเงินประจำสาขา จำนวน 3 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามและบทสัมภาษณ์ผู้บริหาร สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1. ด้านประชากรศาสตร์ ร้อยละ 54.90 ของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นเพศหญิง อายุตัวเฉลี่ย 20 -30 ปี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 30,001 – 60,000 บาท เป็นกลุ่มลูกค้าประเภทเงินฝาก ร้อยละ 52.58 และมีการใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ของธนาคารถึง ร้อยละ 57.22 ส่วนกลุ่มลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ร้อยละ 42.78 สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องมาจากมีการใช้บริการบัตรของธนาคารอื่นอยู่แล้ว 2. ด้านพฤติกรรมการใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้บริการบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิตประเภทบัตรธรรมดามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 53.75 ความถี่ในการใช้บริการอยู่ที่นาน ๆ ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 48.45 ประเภทของธุรกรรมที่ใช้บริการ คือการถอนเงินสด และสอบถามยอดเงินคงเหลือ ผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 77.10 มีการสมัครใช้บริการ A-Mobile ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะไม่ใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์แล้วในอนาคต ถึงร้อยละ 61.95 เนื่องจากไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้บริการบัตรเล็กทรอนิกส์แล้ว 3. การศึกษาความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดการบริการภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.57 แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าปัญหาที่ควรนำมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความพึงพอใจที่ลูกค้าได้รับจากการบริการเพิ่มมากขึ้น คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านกระบวนการ โดยผู้ศึกษาได้สร้างแนวทางการแก้ไขไว้ 2 แนวทาง คือ 1) การนำเสนอแผนการขายที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มยอดใช้บริการผลิตภัณฑ์ของธนาคาร และเพิ่มจำนวนรายได้ค่าธรรมเนียมของธนาคาร 2) เจาะกลุ่มลูกค้าบริเวณใกล้เคียงสาขา เพื่อสร้างโอกาสใน การเพิ่มฐานลูกค้า และสร้างแรงจูงใจในการใช้บริการ ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ ผู้ใช้บริการจะได้รับความพึงพอใจมากขึ้น และการเพิ่มขึ้นของปริมาณลูกค้าผู้ใช้บริการทั้งด้านการเงินและสินเชื่อ
URL Website https://scholar.utcc.ac.th
Website title UTCC Scholar
The University of the Thai Chamber of Commerce

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ