แนวทางการลดหนี้ค้างชําระสินเชื่อผู้มีอาชีพอิสระ COVID-19 (PSA) ของธนาคารออมสิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
รหัสดีโอไอ
Title แนวทางการลดหนี้ค้างชําระสินเชื่อผู้มีอาชีพอิสระ COVID-19 (PSA) ของธนาคารออมสิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
Creator มาศรัตน์ ปุณวัชระพิศาล
Publisher University of the Thai Chamber of Commerce
Publication Year 2564
Keyword ธนาคารออมสิน, หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้, สินเชื่อการค้า
Abstract ตามที่ธนาคารได้รับนโยบายจากรัฐบาลให้ปล่อยสินเชื่อผู้มีอาชีพอิสระ COVID - 19 (PSA) เพื่อ ช่วยเหลือประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 เมื่อติดตามผลการดำเนินงานของธนาคารออมสิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่าสินเชื่อผู้มีอาชีพอิสระ COVID - 19 (PSA) มีสถานะเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) สูง ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการหนี้ค้างชำระและเงินกันสำรองหนี้ของธนาคารสูงขึ้นด้วยเช่นกัน หากไม่ได้รับการแก้ไขหนี้ให้สู่สถานะปกติ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและมูลเหตุสำคัญของลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ สินเชื่อผู้มีอาชีพอิสระ COVID - 19 (PSA) ของธนาคารออมสิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อนำมากำหนดแนวทางเพื่อให้ลูกหนี้กลับมาชำระให้แก่ธนาคารได้และมีแนวทางลดหนี้ค้างชำระให้แก่ธนาคาร ผู้ศึกษาได้เก็บตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างลูกหนี้สินเชื่อผู้มีอาชีพอสิระ COVID - 19 (PSA) ของธนาคารออมสิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 100 ราย โดยลงพื้นที่ตาม แหล่งการค้าและชุมชน เก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ด้วยการสแกนคิวอาร์โค้ด และ 2) กลุ่มตัวอย่าง พนักงานธนาคารออมสินที่สังกัดกลุ่มบริหารหนี้และกฎหมาย จำนวน 103 ราย เก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ โดยส่งไปยังช่องทางการสื่อสารของหน่วยงาน ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะข้อมูลทั่วไปของลูกหนี้และของพนักงานที่แตกต่างกัน มีการเลือกสาเหตุปัญหาที่ทำให้เกิดหนี้ค้างชำระที่แตกต่างกัน สรุปสาเหตุได้ 3 ปัจจัยสำคัญ ดังนี้ 1) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 และเศรษฐกิจซบเซา 2) ปัจจัยที่เกิดจากตัวลูกหนี้ ได้แก่ ลูกหนี้มี รายได้ลดลงแต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เมื่อพนักงานติดตามลูกหนี้แล้วพบว่าไม่สามารถติดต่อลูกหนี้ได้ และ 3) ปัจจัยภายในธนาคาร ได้แก่ จำนวนพนักงานไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ผลการศึกษาพบว่าลูกหนี้ส่วนใหญ่ต้องการเข้ามาตรการแก้ไขหนี้ค้างชำระและมีความต้องการให้มาตรการแก้ไขหนี้ค้างชำระมีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้, มีสิทธิประโยชน์ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ หรือค่าบริการในการเข้าแก้ไขหนี้ค้างชำระ และเงื่อนไขข้อตกลง ระหว่างธนาคารกับลูกหนี้ที่เหมาะสม ทั้งนี้ พนักงานที่ปฏิบัติงานควรมีแผนการติดตามแก้ไขหนี้ค้างชำระ ที่ชัดเจน มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ สามารถสื่อสารถึงเงื่อนไขและ ประโยชน์ในการชำระหนี้ให้ลูกหนี้เข้าใจ มีหลักการวิเคราะห์แก้ไขหนี้ให้ลูกหนี้อย่างเที่ยงตรง ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเสนอแนวทางการลดหนี้ค้างชำระที่ควรดำเนินการช่วยเหลือลูกหนี้ให้มีความสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ก่อน ดังนี้ 1) แนวทางการโปรโมชั่นช่วยลูกหนี้ เช่น ลดเงินต้น ลดเบี้ย ปรับ ปรับเปลี่ยนลำดับตัดชำระหนี้ และปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินคืน, 2) แนวทางการจัดไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง และ 3) แนวทางสร้างช่องทางการขายสร้างรายได้ให้แก่ลูกหนี้ ส่วนแนวทางที่ควร ดำเนินการในระยะต่อไปเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานติดตามและแก้ไขหนี้ให้แก่ธนาคารในระยะยาว ดังนี้ 1) แนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการหนี้ (Debt Management System) และ 2) แนวทางการ ยกระดับความรู้และพัฒนาทักษะบุคลากรด้านบริหารจัดการคุณภาพหนี้ ทั้งนี้แนวทางทั้งหมดมุ่งเน้นให้ เกิดการบูรณาการการแก้ไขหนี้ค้างชำระ ช่วยให้ลูกหนี้กลับมาชำระหนี้ได้ และปรับปรุงระบบการบริหาร หนี้ให้ดียิ่งขึ้นและ สามารถนำแนวทางที่ได้จากการศึกษาไปพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการให้บริการของธนาคารสามารถรองรับสถานการณ์ในระยะยาวได้อีกด้วย ทั้งการพัฒนา กระบวนการดำเนินงาน บุคลากร และเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงการบริการของธนาคารกับลูกค้าทุกประเภทได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
URL Website https://scholar.utcc.ac.th
Website title UTCC Scholar
The University of the Thai Chamber of Commerce

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ