ปัญหาในการทำสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเป็นหนังสือและจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558: รายงานฉบับสมบูรณ์
รหัสดีโอไอ
Title ปัญหาในการทำสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเป็นหนังสือและจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558: รายงานฉบับสมบูรณ์
Creator ภารวีร์ กษิตินนท์
Publisher มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คณะนิติศาสตร์
Publication Year 2568
Keyword สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ, หลักประกันทางธุรกิจ, พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558
Abstract งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาประเด็นปัญหาว่ามาตรา 13 เป็นแบบของสัญญาหลักประกันทางธุรกิจหรือไม่ และปัญหาว่าการที่ระบบจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจต่างจากการจดทะเบียนจำนอง แสดงว่าการจดทะเบียนไม่ใช่แบบเช่นเดียวกับหลักการของกฎหมายหลักประกันสมัยใหม่ใช่หรือไม่ ในปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยได้วิเคราะห์เหตุผลที่มาสนับสนุนความคิดของฝ่ายที่เห็นว่ามาตรา 13 เป็นแบบและฝ่ายที่เห็นว่าเป็นเงื่อนไขในการยกเอาสิทธิตามสัญญาขึ้นยันบุคคลภายนอก ความเป็นมาในการร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ถ้อยคำของบทบัญญัติมาตรา 13 การจัดหมวดหมู่ของบทบัญญัติมาตรา 13 ตลอดจนความสอดคล้องกับบทบัญญัติมาตราอื่น ๆ นอกจากนี้ เนื่องจากมีการนำเอาหลักการของกฎหมายหลักประกันสมัยใหม่ที่ยอมรับกันในทางระหว่างประเทศ (intertionally accepted standards) และหลักกฎหมายต่างประเทศมาอ้างอิงประกอบการตีความ ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาหลักการของกฎหมายหลักประกันสมัยใหม่ที่เสนอโดย Europen Bank of Reconstruction and Development, Organisation pour l’ Harmonization en Afrique du Droit, Study Group on European Civil Code and the Research Group on EC Private Law (Acquis Group) และ United Nation Commission on International Trade Law ว่ามีหลักการในเรื่องแบบของสัญญาหลักประกันและการจดทะเบียนอย่างไร ตลอดจนได้ศึกษากฎหมายของต่างประเทศในเรื่องดังกล่าวว่าสอดคล้องกับหลักการของกฎหมายหลักประกันสมัยใหม่หรือไม่และสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการตีความบทบัญญัติมาตรา 13 ได้หรือไม่ โดยผู้วิจัยได้ศึกษากฎหมายของประเทศต่าง ๆ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากระบบกฎหมายอังกฤษ กลุ่มประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากระบบกฎหมายหลักประกันของประเทศสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศที่มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อีกทั้ง ในการพิจารณาว่าการจดทะเบียนเป็นแบบของสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ ฯ หรือไม่ ผู้วิจัยยังได้ศึกษาว่าการจดทะเบียนหลักประกันรูปแบบต่าง ๆ ว่าแต่ละรูปแบบมีลักษณะและวัตถุประสงค์อย่างไร จากการศึกษาดังกล่าวข้างต้นพบว่า หากตีความว่าบัญญัติมาตรา 13 ไม่ใช่แบบของสัญญาหลักประกันทางธุรกิจฯ ตามยอมรับกันในกฎหมายหลักประกันสมัยใหม่ จะมีปัญหาความไม่สอดคล้องกับ ถ้อยคำของบทบัญญัติมาตรา 13 เอง และบทบัญญัติมาตราอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนไม่สอดคล้องกับการจัดหมวดหมู่ของบทบัญญัติมาตรา 13 และความเป็นมาในการร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจฯ อีกทั้งแม้การจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจฯ จะแตกต่างจากการจดทะเบียนจำนอง การจดทะเบียนดังกล่าวก็ยังมีความแตกต่างจากการจดทะเบียนตามหลักการของกฎหมายหลักประกันสมัยใหม่ (notice registration/filing) อยู่มาก ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางแก้ไขพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจฯ เพื่อให้พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจฯ มีความสอดคล้องกับหลักการของกฎหมายหลักประกันสมัยใหม่
Language TH
URL Website https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:330186
Website title https://digital.library.tu.ac.th
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ