![]() |
การสำรวจ การถอดบทเรียน และการพัฒนาศักยภาพการใช้โดรนเพื่อการเกษตร: กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ในจังหวัดสุพรรณบุรี: โครงการวิจัย: รายงานฉบับสมบูรณ์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การสำรวจ การถอดบทเรียน และการพัฒนาศักยภาพการใช้โดรนเพื่อการเกษตร: กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ในจังหวัดสุพรรณบุรี: โครงการวิจัย: รายงานฉบับสมบูรณ์ |
Creator | ทรงชัย ทองปาน |
Contributor | กฤชญาณ อินทรัตน์ |
Publisher | โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Publication Year | 2567 |
Keyword | อากาศยานไร้คนขับ, โดรน, โดรนการเกษตร, เทคโนโลยีทางการเกษตร, นาแปลงใหญ่ |
Abstract | ในปัจจุบันเกษตรกรได้นำโดรนเพื่อการเกษตรมาใช้ในการทำนามากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกันกับกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ในจังหวัดสุพรรณบุรีที่ได้จัดหาโดรนมาเพื่อให้บริการแก่สมาชิก และเกษตรกรในพื้นที่ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีเป้าหมายเพื่อถอดบทเรียนการใช้โดรนดังกล่าว เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางในการให้บริการโดรนเพื่อการเกษตรสำหรับกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่กลุ่มอื่น ๆ ต่อไป ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อสำรวจสถานะการใช้โดรนเพื่อการเกษตร (2) เพื่อถอดบทเรียนการใช้โดรนเพื่อการเกษตร และ (3) เพื่อพัฒนาศักยภาพการใช้โดรนเพื่อการเกษตร ของกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างงานวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ทั้งการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการฝึกอบรม ผลการศึกษาพบว่า มีกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ 8 กลุ่มที่มีโดรนเพื่อการเกษตรเป็นของตนเอง ผ่านการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ เพื่อให้บริการแก่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกในกลุ่ม และ ที่ไม่เป็นสมาชิกในกลุ่ม ส่วนกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่อีกจำนวน 40 กลุ่ม ส่วนใหญ่มีสมาชิกกลุ่มบางรายที่ใช้บริการโดรนเพื่อการเกษตรจากเอกชน ทั้งในชุมชน และนอกชุมชน ผลการศึกษาสามารถถอดบทเรียนการใช้โดรนเพื่อการเกษตรได้เป็น 7 บทเรียน ได้แก่ (1) บทเรียนการขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดหาโดรนเพื่อการเกษตร (2) บทเรียนในการเลือกซื้อโดรนเพื่อการเกษตร (3) บทเรียนในการสรรหา และการบริหารบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร (4) บทเรียนการให้บริการโดรนเพื่อการเกษตร (5) บทเรียนการเตรียมความพร้อมก่อนการบินโดรนเพื่อการเกษตร (6) บทเรียนการบินโดรนเพื่อการเกษตร และ (7) บทเรียนการดูแลรักษาหลังบินโดรนเพื่อการเกษตร จากบทเรียนข้างต้นสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพให้กับกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ในจังหวัดสุพรรณบุรี และในจังหวัดอื่น ๆ ต่อไปผ่านคู่มือที่ได้จัดทำขึ้นมา จากผลการศึกษาดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงจุดเด่นของการใช้โดรนในการเกษตร คือ โดรนเป็นนวัตกรรมสำหรับลดเวลาในการทำงาน และลดแรงงานคน ช่วยลดอันตรายที่จะเกิดจากการใช้สารเคมี และการหันมาใช้โดรนเพื่อการเกษตรของกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่บางกลุ่ม แสดงให้เห็นถึงการยอมรับเทคโนโลยีทางการเกษตร และสะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวของเกษตรกรเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตด้านแรงงาน |
Language | TH |
URL Website | https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:329530 |
Website title | https://digital.library.tu.ac.th |