ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้และพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ : รายงานการวิจัย
รหัสดีโอไอ
Title ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้และพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ : รายงานการวิจัย
Creator ดาลัด พุกาธร
Publisher มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
Publication Year 2556
Keyword ฐานข้อมูล, ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์, การศึกษาการใช้
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ พฤติกรรมการใช้ ปัญหาในการใช้ เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้และปัญหาการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ โดยจำแนกตามคณะ ระดับชั้นปี ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จำนวน 387 คน จาก 7 คณะวิชา คือคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน การแจกแบบสอบถาม 387 ชุด และได้รับกลับคืน จำนวน 387 ชุด ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจ โดยมีความรู้และประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านโปรแกรมสำหรับจัดพิมพ์เอกสาร มาเป็นอันดับแรก และใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสื่อสารในสังคมออนไลน์ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ นั้นพบว่าปัจจัยด้านคุณลักษณะของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในหัวข้อคุณลักษณะด้านการใช้งานที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น สืบค้น OPAC เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ของนักศึกษาในระดับมาก รองลงมาคือปัจจัยด้านตัวนักศึกษาที่พบว่ามีความต้องการสื่อสารในสังคมออนไลน์ ส่วนลำดับสุดท้ายคือ ปัจจัยด้านอาจารย์ ที่พบว่าอาจารย์กำหนดให้ค้นคว้าจากทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ และอาจารย์ในรายวิชาต่างๆ มอบหมายงานให้ค้นคว้า นั้นมีผลต่อการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาอยู่ในระดับน้อย พฤติกรรมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ พบว่าโดยเฉลี่ยมีการใช้สัปดาห์ละ5-6 ครั้ง ใช้เวลา 45-60 นาที เข้าถึงสารสนเทศจากเว็บค้นหาข้อมูล (Search Engine) ใช้วิธีค้นหาด้วยตนเองและไม่ได้ศึกษาคู่มือประกอบการใช้ ผลสืบค้นได้ตรงกับความต้องการโดยจัดเก็บข้อมูลไว้ในHandy Drive และนำสารสนเทศในรูปของตัวอักษร (Text) ไปใช้งาน ส่วนพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ นั้นพบว่า ส่วนใหญ่ใช้สารสนเทศจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รองลงมาคือ ใช้ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทยจากสถาบันในประเทศไทย เช่น ThaiLis Digital Collection ใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่บันทึกในสื่อประเภทแผ่นจานแสง ในระดับปานกลาง ใช้ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) บทเรียนสำเร็จรูป e-Learning ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์จากสถาบันต่างประเทศ อยู่ในระดับน้อย แต่โดยภาพรวมระดับการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ พบว่าอยู่ในระดับปานกลางปัญหาในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านการใช้ และด้านเนื้อหา พบว่า ปัญหาด้านการใช้ภาษาต่างประเทศสำหรับการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เป็นปัญหาอันดับแรก ส่วนด้านเนื้อหา พบว่า สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการไม่ทันสมัย ไม่ทันเหตุการณ์ เป็นปัญหาอันดับแรกเช่นกัน แต่โดยภาพรวมพบว่าปัญหาการใช้ทั้ง 2 ด้าน เป็นปัญหาระดับปานกลางที่ส่งผลต่อการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาส่วนความสัมพันธ์ของระดับชั้นปีที่มีต่อพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ในด้านการใช้โดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ การใช้เวลาในการสืบค้น วิธีการเข้าถึงสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการในการค้นหา การศึกษาคู่มือประกอบการใช้งาน สารสนเทศที่สืบค้นได้ตรงกับความต้องการ การจัดเก็บข้อมูลที่สืบค้น พบว่า มีความสัมพันธ์กับระดับชั้นปีของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนลักษณะของสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่นักศึกษานำไปใช้และระดับของการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับชั้นปีของนักศึกษาในด้านความสัมพันธ์ระหว่างคณะที่ศึกษากับพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์นั้นพบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างระดับชั้นปีที่ศึกษา และคณะที่ศึกษา นั้นพบว่ามีความสัมพันธ์กับปัญหาในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในด้านของปัญหาในการใช้ และปัญหาด้านเนื้อหาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Language TH
URL Website https://dspace.rmutk.ac.th
Website title คลังความรู้ UTK
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.กรุงเทพ

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ