![]() |
การปรับปรุงความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์ซีเมนต์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การปรับปรุงความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์ซีเมนต์ |
Creator | วรัญญา สนเผือก |
Contributor | นภัสสวงศ์ โรจนโรวรรณ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | ไฟเบอร์ซีเมนต์, Fiber cement |
Abstract | วัสดุประเภทไฟเบอร์ซีเมนต์เป็นวัสดุก่อสร้างทดแทนไม้ คุณสมบัติที่สำคัญของวัสดุก่อสร้างไฟเบอร์ซีเมนต์ คือ ความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์ ซึ่งวัดในรูป ค่าโมดูลัสของการแตกหัก งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์แนวคิดซิกซ์ ซิกมา เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตวัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มค่าความสามารถด้านสมรรถนะแบบระยะยาว (Ppk) ของค่าความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์จากค่า Ppkก่อนการปรับปรุงที่มีค่า 0.26 ให้มีค่ามากกว่า 1.33 ซึ่งสามารถยอมรับได้ว่ากระบวนการมีความสามารถโดยมีแนวทางในการเพิ่มค่าเฉลี่ยความแข็งแรง และลดความผันแปร งานวิจัยเริ่มจากการศึกษาสภาพปัญหา กำหนดวัตถุประสงค์ และขอบเขตของโครงการ จากนั้นทำการวิเคราะห์ความสามารถของระบบการวัด ศึกษารายละเอียดของขั้นตอนการผลิตและระบุตัวแปรที่อาจส่งผลต่อค่าความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากตัวแปรมีจำนวนมาก จึงทำการคัดกรองปัจจัยโดยใช้เทคนิคการหาความสัมพันธ์ของสาเหตุและผลและเทคนิคการวิเคราะห์อาการขัดข้องและผลกระทบสามารถกรองปัจจัยจาก 39 ปัจจัย เหลือ 16 ปัจจัย และพบว่ามี 3 ปัจจัย ได้แก่ ค่าฟรีเนสน้ำเยื่อ ความหนาของชั้นฟิล์ม และแรงอัด ซึ่งถูกปรับปรุงโดยวิธีการออกแบบการทดลอง ชนิดการออกแบบบอกซ์-เบห์นเคน เพื่อระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่อค่าความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์ และกำหนดค่าที่เหมาะสมในการปรับระดับของปัจจัย เพื่อให้ได้ค่าความแข็งแรงสูงที่สุด ส่วนตัวแปรอีก 13 ตัวแปร มีแนวทางการปรับปรุงโดยการสร้างมาตรฐานวิธีปฏิบัติงาน และการฝึกอบรมพนักงาน จากนั้นทำการควบคุมกระบวนการหลังการปรับปรุง โดยใช้หลักการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ หลังการปรับปรุง พบว่า ค่า Ppkของกระบวนการมีค่าเพิ่มขึ้นเป็น 2.05 ซึ่งสามารถยอมรับได้ว่ากระบวนการมีความสามารถ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |