การขจัดไดเบนโซไทโอฟีนจากนอร์มัล-ออกเทนโดยการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ที่เตรียมจากกากตะกอนจากการบำบัดน้ำเสีย
รหัสดีโอไอ
Title การขจัดไดเบนโซไทโอฟีนจากนอร์มัล-ออกเทนโดยการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ที่เตรียมจากกากตะกอนจากการบำบัดน้ำเสีย
Creator ธิติวรรณ นันทปรีชาชาญ
Contributor มะลิ หุ่นสม, สิทธิพงษ์ เพ็งพานิช
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword น้ำเสีย -- การบำบัด, กากตะกอนน้ำเสีย, คาร์บอนกัมมันต์, การดูดซับ, Sewage sludge, Sewage -- Purification, Carbon, Activated, Adsorption
Abstract งานวิจัยนี้ศึกษาการเตรียมถ่านกัมมันต์จากกากตะกอนจากการบำบัดน้ำเสียเพื่อนำไปใช้ในการขจัดกำมะถันในน้ำมันดีเซลด้วยวิธีการดูดซับ น้ำมันเชื้อเพลิงต้นแบบที่ใช้คือ ไดเบนโซไทโอฟีน ความเข้มข้น 100 พีพีเอ็มในนอร์มัล-ออกเทนสารกระตุ้นที่ใช้ในการเตรียมถ่านกัมมันต์ ได้แก่ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ซิงค์คลอไรด์ และกรดไนตริก ที่อัตราส่วนของสารกระตุ้นและถ่านชาร์ 0.5 1 2 4 และ 6 โดยน้ำหนัก จากผลการศึกษาพบว่าชนิดของสารกระตุ้น อัตราส่วนของสารกระตุ้นและถ่านชาร์ และวิธีการกระตุ้นมีผลต่อความสามารถในการดูดซับไดเบนโซไทโอฟีน โดยถ่านกัมมันต์ที่กระตุ้นด้วยโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ที่อัตราส่วน 6 ต่อ 1 แบบสองขั้นตอนที่อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง อัตราการไหลของไนโตรเจน 50 มิลลิลิตรต่อนาที และ อัตราการให้ความร้อน 10 องศาเซลเซียสต่อนาที มีความสามารถในการดูดซับไดเบนโซไทโอฟีนสูงที่สุด (14.12 มิลลิกรัมต่อกรัม) เมื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมถ่านกัมมันต์ พบว่าอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการคาร์บอไนซ์มีผลต่อความสามารถในการดูดซับไดเบนโซไทโอฟีนของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้ นอกจากนี้ยังพบว่าหมู่ฟังก์ชันที่มีออกซิเจนบนพื้นผิวของถ่านกัมมันต์มีผลต่อความสามารถในการดูดซับ แต่ลักษณะทางกายภาพรวมทั้งองค์ประกอบ ที่อยู่ในถ่านกัมมันต์ไม่มีผลต่อความสามารถในการดูดซับไดเบนโซไทโอฟีน และถ่านกัมมันต์ที่ได้ มีลักษณะการดูดซับไดเบนโซไทโอฟีนจากนอร์มัล-ออกเทนในรูปแบบของไอโซเทอมแบบแลงเมียร์
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ