![]() |
การพัฒนาระบบสื่อสารไร้สายต้นแบบในห้องเรียนสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยินด้วยเทคโนโลยีบลูทูธ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การพัฒนาระบบสื่อสารไร้สายต้นแบบในห้องเรียนสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยินด้วยเทคโนโลยีบลูทูธ |
Creator | อาภา สุวรรณรัตน์ |
Contributor | เศรษฐา ปานงาม, พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | ความบกพร่องทางการได้ยิน, เทคโนโลยีบลูทูธ, ระบบสื่อสารไร้สาย, Hearing impaired, Bluetooth technology, Wireless communication systems |
Abstract | สำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยินแล้ว ระบบสื่อสารไร้สายในห้องเรียนเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยการเรียนการสอนในห้องเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบเอฟเอ็มเป็นระบบการสื่อสารไร้สายระบบหนึ่งซึ่งถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนในห้องเรียนของนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน แต่ระบบเอฟเอ็มก็มีข้อเสียสำคัญ คือไม่ทนทานต่อสัญญาณรบกวน ประกอบกับคุณสมบัติสำคัญ 3 ประการของเทคโนโลยีบลูทูธ ได้แก่ ทนทานต่อสัญญาณรบกวน ใช้พลังงานต่ำ และราคาถูก รวมถึงความแพร่หลายในการใช้งานเทคโนโลยีบลูทูธในปัจจุบัน งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอการนำออกแบบและพัฒนาระบบสื่อสารไร้สายในห้องเรียนต้นแบบด้วยเทคโนโลยีบลูทูธ โดยระบบต้นแบบถูกพัฒนาให้เป็นเรียลไทม์แอพพลิเคชันที่ใช้ช่องสัญญาณ ACL ในการส่งข้อมูลเสียงผ่านทางชั้นการทำงาน L2CAP จากการทดลองพบว่า เทคโนโลยีบลูทูธสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบสื่อสารไร้สายในห้องเรียนสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยินได้ สำหรับจำนวนอุปกรณ์ลูกข่ายในพิโคเน็ต(piconet) ซึ่งเป็นข้อจำกัดของเทคโนโลยีบลูทูธนั้น สามารถแก้ไขได้โดยการเพิ่มจำนวนอุปกรณ์แม่ข่ายให้สอดคล้องกับจำนวนนักเรียนในห้องเรียนซึ่งพิโคเน็ตใช้เวลาในการส่งข้อมูลเสียงต่ำกว่าการเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ลูกข่ายด้วยการเชื่อมต่อแบบ Scatternetและสามารถรองรับการทำงานที่ระยะสูงสุด 12 เมตร |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |