การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการปรับปรุงกระบวนการขนส่งชิ้นส่วนรอการผลิตในสายการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
รหัสดีโอไอ
Title การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการปรับปรุงกระบวนการขนส่งชิ้นส่วนรอการผลิตในสายการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
Creator ไวกูณฐ์ โอมพรนุวัฒน์
Contributor นระเกณฑ์ พุ่มชูศรี
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword อุตสาหกรรมยานยนต์, ยานยนต์, การขนส่ง, รถยนต์ -- ชิ้นส่วน -- การขนส่ง, Motor vechicle industry, Transportation, Motor vehicles, Automobiles -- Parts -- Transportation
Abstract งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอแบบจำลองในการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการปรับปรุงกระบวนการขนส่งชิ้นส่วนในสายการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จากคลังจัดเก็บชิ้นส่วนถึงส่วนการผลิตในโรงงานกรณีศึกษาซึ่งประสบปัญหาในปัจจุบัน ที่พบว่าการขนส่งชิ้นส่วนระหว่างการผลิตมีความล่าช้าและผิดพลาดในการขนส่ง ก่อให้เกิดระยะเวลาสูญเสียขึ้น โดยงานวิจัยนี้พิจารณาแนวทางการปรับปรุงกระบวนการขนส่งชิ้นส่วน 3 แนวทาง ได้แก่ 1) การขนส่งชิ้นส่วนด้วยพนักงานอย่างเป็นระบบ 2) การขนส่งชิ้นส่วนด้วยพาหนะขนส่งชิ้นส่วนอัตโนมัติ และ 3) การขนส่งชิ้นส่วนด้วยพาหนะขนส่งร่วมกับระบบชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ โดยนำเสนอแบบจำลองเพื่อหาจำนวนทรัพยากรน้อยที่สุดที่ยังสามารถทำให้การขนส่งชิ้นส่วนให้มีประสิทธิภาพสำหรับแต่ละแนวทางด้วยข้อมูลนำเข้าจากโรงงานได้แก่ 1) ระยะเวลาการเรียกขอชิ้นส่วนในแต่ละจุดการผลิต และ 2) ระยะเวลาการทำงานจัดส่งชิ้นส่วนรอการผลิตจากคลังจัดเก็บเข้าสู่ส่วนการผลิตชิ้นส่วนในแต่ละแนวทางการทำงาน จากนั้นทำการคำนวณหาต้นทุนเฉลี่ยรายปี เพื่อเปรียบเทียบความคุ้มค่าในการปรับปรุงการขนส่ง จากผลของงานวิจัยพบว่า การขนส่งชิ้นส่วนจากส่วนจากคลังจัดเก็บชิ้นส่วนถึงส่วนการผลิตโดยพาหนะขนส่งชิ้นส่วนอัตโนมัติร่วมกับระบบชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ เป็นแนวทางที่คุ้มค่าที่สุดเมือเทียบกับวิธีอื่น โดยใช้จำนวนพาหนะขนส่งชิ้นส่วนอัตโนมัติทั้งหมด 3 คัน และมีค่าเฉลี่ยต้นทุนรายปีรวมทั้งหมดที่ 578,877.18 บาทต่อปี ซึ่งทางเลือกนี้เมื่อเทียบกับวิธีการทำงานปัจจุบันจะสามารถลดระยะเวลาสูญเสียได้ 8,684 นาทีต่อปี
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ