![]() |
ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน |
Creator | รัตนา พันจุย |
Contributor | อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, รัตน์ศิริ ทาโต |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | จิตเภท, ผู้ป่วยจิตเภท -- การดูแล, ผู้ดูแล, การปรับตัว (จิตวิทยา), การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม, Schizophrenia, Schizophrenics -- Care, Caregivers, Adjustment (Psychology), Group counseling |
Abstract | กการวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน โดยใช้แนวคิดการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มของ Mahler (1969) เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนในเขตสำนักงานสาธารณสุขอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว โดยจับคู่ด้านเพศ อายุ และระยะเวลาการดูแลผู้ป่วย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละจำนวน 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการก่อตั้งกลุ่ม 2) ขั้นการเปลี่ยนลักษณะของกลุ่ม 3) ขั้นการดำเนินงาน และ 4) ขั้นยุติการให้คำปรึกษา ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินความสามารถในการเผชิญปัญหา มีค่าความเที่ยง .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน หลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม (X-bar = 2.60, SD = 0.12, ระดับดี) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม (X-bar = 0.79, SD = 0.29, ระดับไม่ดี) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม (X-bar = 2.60, SD = 0.12, ระดับดี) สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (X-bar = 1.80, SD = 0.41, ระดับพอใช้) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |