![]() |
การทำให้บริสุทธิ์และการเปลี่ยนเชิงเคมีไฟฟ้าของกลีเซอรอลดิบจากการผลิตไบโอดีเซล |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การทำให้บริสุทธิ์และการเปลี่ยนเชิงเคมีไฟฟ้าของกลีเซอรอลดิบจากการผลิตไบโอดีเซล |
Creator | พเยีย สายหล้า |
Contributor | มะลิ หุ่นสม |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | พลังงานทดแทน -- ไทย, เชื้อเพลิงไบโอดีเซล, กลีเซอรีน, เคมีไฟฟ้า, Power resources -- Thailand, Biodiesel fuels, Glycerin, Electrochemistry |
Abstract | ศึกษาการทำให้บริสุทธิ์และการเปลี่ยนเชิงเคมีไฟฟ้าของกลีเซอรอลดิบ จากการผลิตไบโอดีเซลที่ใช้น้ำมันที่ผ่านการใช้งานแล้วเป็นสารตั้งต้น ส่วนแรกเป็นการศึกษาการเพิ่มความบริสุทธิ์ของกลีเซอรอลดิบด้วยกระบวนการทางเคมี ตัวแปรที่ศึกษาคือ ชนิดของสารสกัดมีขั้ว (เมทานอล เอทานอล และโพรพานอล) และสารสกัดไม่มีขั้ว (เฮกเซนและไดเอทิลอีเทอร์) และอัตราส่วนโดยปริมาตรระหว่างสารสกัดและกลีเซอรอลดิบปรับสภาพ (0.5-4) พบว่าโพรพานอลที่อัตราส่วนโดยปริมาตรต่อกลีเซอรอลดิบปรับสภาพเท่ากับ 2 จะให้กลีเซอรอลดิบปรับสภาพที่มีความบริสุทธิ์ถึง 97.85% และการลดลงของสี 94.96% ส่วนที่สองเป็นการสังเคราะห์สารเพิ่มมูลค่าจากกลีเซอรอลดิบปรับสภาพ ที่ผ่านการเพิ่มความบริสุทธิ์ด้วยกระบวนการเคมีไฟฟ้า ในเครื่องปฏิกรณ์เคมีไฟฟ้าแบบไม่มีเยื่อเลือกผ่าน ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ความเป็นกรด-เบสเริ่มต้น (ความเป็นกรด-เบสเท่ากับ 1, 7 และ 11) ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า (0.08-0.27 แอมแปร์ต่อ ตร.ซม.) ชนิดขั้วไฟฟ้า และอัตราการป้อนแก๊สไฮโดรเจน (30 60 และ 120 นาที) พบว่าการใช้แพลทินัมเป็นขั้วไฟฟ้าสำหรับสารละลายกลีเซอรอลที่ความเป็นกรด-เบสเท่ากับ 1 และความหนาแน่นกระแสไฟฟ้าเท่ากับ 0.14 แอมแปร์ต่อ ตร.ซม. จะให้ร้อยละการเปลี่ยนของกลีเซอรอลสูงถึง 97.00% ภายในเวลา 17 ชั่วโมง และเมื่อมีการป้อนแก๊สไฮโดรเจนให้กับระบบ พบว่าแก๊สไฮโดรเจนช่วยให้ร้อยละการเปลี่ยนของกลีเซอรอล และร้อยละผลได้ของสารเพิ่มมูลค่าเกิดได้เร็วขึ้นกว่า ระบบที่ไม่มีการป้อนแก๊สไฮโดรเจน โดยสารเพิ่มมูลที่เกิดขึ้นในระบบ เช่น ไกลไซดอล 1,2-โพรเพนไดออล และ 1,3-โพรเพนไดออล |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |