![]() |
การโน้มน้าวใจในงานออกแบบเรขศิลป์ สำหรับการรณรงค์ให้เยาวชนหันมาบริจาคโลหิตอย่างต่อเนื่อง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การโน้มน้าวใจในงานออกแบบเรขศิลป์ สำหรับการรณรงค์ให้เยาวชนหันมาบริจาคโลหิตอย่างต่อเนื่อง |
Creator | ปวิกร แพร่ไพศาลภูบาล |
Contributor | ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | การโน้มน้าวใจ, เยาวชน -- ทัศนคติ, โฆษณา -- การบริจาคโลหิต, การออกแบบกราฟิก, Persuasion (Psychology), Youth -- Attitudes, Advertising -- Directed blood donations, Graphic design |
Abstract | ศึกษาหาทัศนคติและแนวทางโน้มน้าวใจและการออกแบบเรขศิลป์ให้เยาวชนบริจาคโลหิตอย่างต่อเนื่อง การดำเนินการวิจัย ใช้การสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นเองจำนวน 400 ชุด โดยเก็บข้อมูลจากการสุ่มตัวอย่าง จากทั้งผู้บริจาคและผู้ที่ยังไม่ได้บริจาคโลหิต เพื่อหาทัศนคติที่มีต่อการบริจาคโลหิต ผลของการศึกษาเบื้องต้นพบทัศนคติที่สำคัญ 3 อย่าง ได้แก่ 1. ทัศนคติที่ได้รับความรู้สึกภูมิใจ มีคุณค่า 2. ทัศนคติที่ได้รับความรู้สึกปลื้มปิติ 3. ทัศนคติที่ได้รับความรู้สึกร่างกายแข็งแรง จากนั้นนำผลที่ได้ไปพัฒนาแบบสอบถามสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเรขศิลป์ ด้านการสื่อสาร และจิตวิทยา เพื่อหาองค์ประกอบทางการออกแบบ และการสื่อสารที่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์ สำหรับรณรงค์ให้เยาวชนหันมาบริจาคโลหิตอย่างต่อเนื่อง ผลของการศึกษาดังนี้ ทัศนคติที่ได้รับความรู้สึกภูมิใจ มีคุณค่า ใช้รูปแบบจุดจับใจด้านความภูมิใจ/คุณค่าให้ตนเอง (Salf-esteem appeal) ควรใช้บุคลิกภาพในการออกแบบ สุภาพ อ่อนโยนดูอบอุ่น มีชีวิตชีวา (Gentle & Warm) การใช้อักษรไทยที่ควรใช้ ได้แก่ 1. แบบตัวที่มีหัวกลม น้ำหนักเส้นอักษรเท่ากัน รูปร่างตัวอักษรมีลักษณะโค้ง 2. แบบตัวที่มีหัวกลม น้ำหนักเส้นอักษรเท่ากัน มีลักษณะเหลี่ยมปลายมน และ 3. แบบตัวตกแต่งไม่มีหัวหรือมีหัวเป็นเชิง ที่มีน้ำหนักเส้นอักษรเท่ากัน รูปร่างตัวอักษรมีลักษณะโค้ง การใช้ภาพที่เหมาะสม ได้แก่ 1. การสร้างภาพด้วยการใช้หลายองค์ประกอบมารวมกัน (Visual building blocks) 2. การใช้ภาพเล่นมุม (Playing with angles) 3. ภาพที่เปลี่ยนความหมายของสิ่งเดิม (A Change of meaning) และการจัดวางควรใช้ระบบกริด 1. แบบโมดูลาร์ (Modular grid) และ 2. แบบมานูสคริปต์ (Menuscript grid) ทัศนคติที่ได้รับความรู้สึกปลื้มปิติ ควรใช้รูปแบบจุดจับใจที่ได้รับการยอมรับจากสังคม (Social appeal) ควรใช้บุคลิกภาพในการออกแบบ ทันสมัยเกี่ยวกับอนาคต (Modern & futuristic) การใช้อักษรไทยที่ควรใช้ ได้แก่ 1. แบบตัวที่มีหัวกลม น้ำหนักเส้นอักษรเท่ากัน รูปร่างตัวอักษรมีลักษณะเหลี่ยมปลายมน 2. แบบตัวที่มีหัวกลม น้ำหนักเส้นอักษรเท่ากัน รูปร่างตัวอักษรมีลักษณะโค้ง และ 3. แบบตัวตกแต่งไม่มีหัวหรือมีหัวเป็นเชิง ที่มีน้ำหนักเส้นอักษรเท่ากัน รูปร่างตัวอักษรมีลักษณะโค้ง การใช้ภาพที่เหมาะสม ได้แก่ 1. การประกอบหรือปะติดปะต่อกันเป็นภาพ (More building blocks) 2. ภาพที่เปลี่ยนความหมายของสิ่งเดิม (A Change of mMeaning) 3. การสร้างภาพด้วยการใช้หลายองค์ประกอบมารวมกัน (Visual building blocks) และการจัดวางควรใช้ระบบกริด 1. แบบสปอนเทเนียส ออปทิคอล คอมโพซิชั่น (Spontaneous Optical Composition) และ 2. แบบคอนเซปท์ชวล ออร์ พิคโทเรียล ออลลูชั่น (Conceptual or Pictorial Allusion) ทัศนคติที่ได้รับความรู้สึกร่างกายแข็งแรง ควรใช้รูปแบบจุดจับใจด้านสุขอนามัย (Health appeal) ควรใช้บุคลิกภาพในการออกแบบที่ดูเป็นหนุ่มเป็นสาวและมีสุขภาพสมบูรณ์ (Young & Healthy) การใช้อักษรไทยที่ควรใช้ ได้แก่ 1. แบบตัวที่มีหัวกลม น้ำหนักเส้นอักษรเท่ากัน รูปร่างตัวอักษรมีลักษณะโค้ง 2. แบบตัวที่มีหัวกลม น้ำหนักเส้นอักษรไม่เท่ากัน รูปร่างตัวอักษรมีลักษณะโค้ง และ 3. แบบตัวตกแต่งที่มีหัวกลม น้ำหนักเส้นอักษรเท่ากัน รูปร่างตัวอักษรมีลักษณะโค้ง ที่เป็นตัวอ้วน การใช้ภาพที่เหมาะสม ได้แก่ 1. การประกอบหรือปะติดปะต่อกันเป็นภาพ (More Building Blocks) 2. การสร้างภาพด้วยการใช้หลายองค์ประกอบมารวมกัน (Visual Building Blocks) 3. ภาพย่อส่วนและภาพขยาย (Micro and Macro) และการจัดวางควรใช้ระบบกริด 1. แบบคอนเซปท์ชวล ออร์ พิคโทเรียล ออลลูชั่น (Conceptual or Pictorial Allusion) 2. แบบคอลัมน์ (Column Grid) และ 3. แบบโมดูลาร์ (Modular Grid) |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |