วิเคราะห์เดี่ยวซออู้เพลงกราวใน ทางครูฉลวย จิยะจันทน์
รหัสดีโอไอ
Title วิเคราะห์เดี่ยวซออู้เพลงกราวใน ทางครูฉลวย จิยะจันทน์
Creator ณัฐพงศ์ แก้วสุวรรณ์
Contributor ขำคม พรประสิทธิ์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword ฉลวย จิยะจันทน์, ซออู้, ดนตรีไทย, การวิเคราะห์ทางดนตรี, Musical analysis
Abstract ผลการวิจัยพบว่าเพลงกราวในทางครูฉลวย จิยะจันทน์มีชื่อเสียงจากอดีตจนปัจจุบันนี้ได้ สืบเนื่องมาจากการแสดงเดี่ยวกราวในเพื่อเป็นการเผยแพร่ออกสู่สาธารณชน คุณครูได้รับการถ่ายทอดจากครูพระสรรเพลงสรวง (บัว กมลวาทิน) ต่อมาครูฉลวย จิยะจันทน์ จึงได้ถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ในสายคุณครูอีกทอดหนึ่ง โครงสร้างการเดี่ยวซออู้เพลงกราวในทางครูฉลวย จิยะจันทน์ มีโครงสร้างการโยนตาม กลุ่มเสียงต่างๆครบ ๖ เสียง ๖ กลุ่มการโยน เช่นเดียวกับทำนองหลักโดยสมบูรณ์ มีการยึดหลักโครงสร้างเดียวกับทำนองหลัก หากแต่มีการใช้หลักการประพันธ์ในการยืดยุบสำนวนเดิมจากโครงสร้างทำนองหลักทางฆ้องมาแปรทำนองให้เป็นลักษณะของทางเดี่ยวซออู้ตามขนบอย่างลุ่มลึกและน่าสนใจจากการวิเคราะห์สังคีตลักษณ์และกลวิธีพิเศษในการเดี่ยวซออู้เพลงกราวในทางครูฉลวย จิยะจันทน์ ผู้วิจัยพบว่ามีการใช้โทน-รำมะนา ตีหน้าทับกราวนอกประกอบจังหวะ มีลักษณะการดำเนินทำนองและกลวิธีพิเศษต่างๆอย่างเป็นลักษณะเฉพาะ แบ่งเป็น ๓ ส่วน ส่วนแรกคือ สำนวนกลอน พบ ๕ ประการ ได้แก่ สำนวนการเรียงตัวของนิ้ว สำนวนกลอนเถาวัลย์ ลักษณะการเล่นของสำนวน เช่น การยืนเสียง การซ้ำสำนวน การทอนสำนวน เป็นต้น สำนวนการครวญเสียงโดยสอดแทรกกลวิธีพิเศษต่างๆไว้ สำนวนปี่ในลักษณะการย้ำกลุ่มโน้ตมากกว่า ๑ ครั้งและครั้งเดียวจบ ส่วนที่สองคือ กลวิธีพิเศษ พบ ๑๔ ประการ ได้แก่ การเปิดเสียง การรูดสาย การเลียนสำเนียงปี่ การคลึงเสียงหรือคลึงนิ้ว การขยักเสียง การสะอึกเสียง การสะบัดนิ้ว ๒-๕เสียง การสะบัดคันชัก การรวบเสียงหรือรวบนิ้ว การขยี้ การเน้นเสียงด้วยการพรมเสียงสั้น การพรมเสียงยาว การรัวคันชัก การครวญเสียง ส่วนที่สาม คือ วิธีการบรรเลง พบ ๕ ประการ ได้แก่ การใช้นิ้วกดสายด้วยนวมนิ้วและปลายนิ้วสลับกัน การใช้ ๒-๓ นิ้วในการจับคันชัก การขึ้นประโยคด้วยคันชักเข้าก่อน ระบบการใช้คันชักทั้งแบบตามขนบและไม่ตายตัว การเคลื่อนระดับมือลงมาปฏิบัติในช่วงเสียงสูงสลับ (ลง-ขึ้น) ไปมามากกว่า ๑ รอบและการเคลื่อนลงมารอบเดียวจบ ทั้งนี้ จุดประสงค์ของการใช้ลักษณะดังกล่าวปรากฏขึ้นเพื่อคุณภาพเสียงเป็นสำคัญ เน้นเสียงที่นุ่มนวล มีเสียงโต มีความต่อเนื่องของเสียง สำนวนและอารมณ์เพลง อีกทั้งเพื่อเป็นการเอื้อต่อความคล่องตัวของผู้บรรเลงและทำให้ไม่ขัดต่อสำนวนกลอนในขณะที่บรรเลงในอัตราที่กระชับ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ