![]() |
การผลิตไบโอดีเซลแบบต่อเนื่องในเอทานอลภาวะเหนือวิกฤตจากน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์และน้ำมันปาล์มใช้แล้ว |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การผลิตไบโอดีเซลแบบต่อเนื่องในเอทานอลภาวะเหนือวิกฤตจากน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์และน้ำมันปาล์มใช้แล้ว |
Creator | ชาฟีอี แหล๊ะโต๊ะหีม |
Contributor | สมเกียรติ งามประเสริฐสิทธิ์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | เชื้อเพลิงไบโอดีเซล, เอทานอล, น้ำมันปาล์ม, Biodiesel fuels, Ethanol, Palm oil |
Abstract | งานวิจัยนี้ศึกษากระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชันของน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์และน้ำมันปาล์มใช้แล้วในเอทานอลภาวะเหนือวิกฤตแบบต่อเนื่องโดยใช้เครื่องปฏิกรณ์แบบท่อไหลและไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา ภาวะที่ใช้ในการทดลองคือ อุณหภูมิ 270–330 องศาเซลเซียส เวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยา 20-100 นาที อัตราส่วนโดยโมลระหว่างน้ำมันพืชต่อเอทานอล 1:10-1:40 และความดัน 15-30 เมกะพาสคัล ภาวะที่เหมาะสมสำหรับน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ คือ อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส เวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยา 95 นาที อัตราส่วนโดยโมลระหว่างน้ำมันพืชต่อเอทานอล 1:30 และความดัน 20 เมกะพาสคัล ได้ร้อยละผลได้ของเอทิลเอสเทอร์ 80.14 ภาวะที่เหมาะสมสำหรับน้ำมันปาล์มใช้แล้ว คือ อุณหภูมิ 315 องศาเซลเซียส เวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยา 39 นาที อัตราส่วนโดยโมลระหว่างน้ำมันพืชต่อเอทานอล 1:30 และความดัน 20 เมกะพาสคัล ได้ร้อยละผลได้ของเอทิลเอสเทอร์ 73.43 การใช้อุณหภูมิต่ำสามารถลดการสลายตัวทางความร้อนของเอทิลเอสเทอร์ที่เกิดจากกรดไขมันไม่อิ่มตัวได้และการใช้เวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยานานทำให้เพิ่มค่าการเปลี่ยนของไตรกลีเซอไรด์ส่งผลให้ได้รับร้อยละผลได้ของเอทิลเอสเทอร์สูงขึ้น แม้ว่าร้อยละผลได้ของเอทิลเอสเทอร์น้อยกว่า 96.5 เอทิลเอสเทอร์ที่ได้จากน้ำมันพืชทั้งสองชนิดมีมาตรฐานตาม ASTM เว้นแต่ค่าความหนืดของเอทิลเอสเทอร์ที่ได้จากน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |