![]() |
แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ : กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ : กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด |
Creator | ทวิช มณีพนา |
Contributor | เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด, กำลังคน, นิคมอุตสาหกรรม, การวางแผนกำลังคน, Maptaphut Industrail Estate, Industrial districts, Manpower, Manpower planning |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของกำลังคนในอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ และ (2) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ ในการศึกษาผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสัมภาษณ์กลุ่ม (Group Interview) วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามโดยใช้สถิติการหาค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ และการสัมภาษณ์กลุ่ม ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. คุณลักษณะของกำลังคนในอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านความรู้ แรงงานฝีมือ สามารถกำหนดทิศทางของโรงงาน/บริษัทได้ แรงงานฝีมือจึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับนโยบาย/การวางแผนงาน สามารถกำหนดนโยบาย ที่มีความชัดเจน และสามารถนำไปปฏิบัติได้ ส่วนแรงงานกึ่งฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ ต้องมีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเข้าฝึกอบรมกับทางโรงงาน/บริษัท ที่จะดำเนินการให้ก่อนเข้าทำงาน (2) ด้านทักษะ แรงงานฝีมือต้องมีทักษะการคิดเชิงระบบ สามารถวิเคราะห์ภาพรวม และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ และทักษะการสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้แรงงานระดับรองลงมามีความตระหนักต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม และ (3) ด้านบุคลิกอุปนิสัย แรงงานฝีมือ แรงงานกึ่งฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ ต้องมีจิตสำนึกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ยอมรับว่าตนเองมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ และปฏิบัติอย่างจริงจัง 2. แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่(1) การศึกษาในระบบ แรงงานฝีมือ แรงงานกึ่งฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ การจัดการศึกษาต้องมุ่งเน้นความรู้ ด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน เศรษฐศาสตร์ และปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม โดยแรงงานฝีมือจะต้องมุ่งเน้นความรู้เพิ่มเติมในด้านนโยบาย/การวางแผนงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อม การขนส่ง สถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบอุตสาหกรรม (2) การศึกษานอกระบบ แรงงานฝีมือ แรงงานกึ่งฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ จะใช้การฝึกอบรมภายใน/ภายนอก โรงงาน/บริษัท เพื่อเพิ่มเติมความรู้และประสบการณ์ เฉพาะด้านนั้นๆ เช่น ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน และ (3) การศึกษาตามอัธยาศัย แรงงานฝีมือ แรงงานกึ่งฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ จะใช้การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม เสียงตามสาย และผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ควรทำร่วมกับชุมชน โดยให้กำลังคนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ตั้งแต่ การร่วมคิด ร่วมวางแผน และร่วมทำ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |