จำนวนผลที่เหมาะสมที่สุดต่อพวงสำหรับองุ่นไร้เมล็ดพันธุ์แบล๊คโอปอล์
รหัสดีโอไอ
Title จำนวนผลที่เหมาะสมที่สุดต่อพวงสำหรับองุ่นไร้เมล็ดพันธุ์แบล๊คโอปอล์
Creator ปนิดา นาจันทัด
Contributor อนุภาพ สมบูรณ์สวัสดี
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword องุ่น -- การปลูก, Grapes -- Planting
Abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจำนวนผล/พวง ที่เหมาะสำหรับองุ่นไร้เมล็ดพันธุ์แบล๊ค โอปอล์ ที่ทำให้ได้องุ่นที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดในเรื่องของ ขนาด น้ำหนัก สี และความหวาน โดยทำการเก็บข้อมูลจากองุ่นไร้เมล็ดพันธุ์แบล๊คโอปอล์ที่ไร่องุ่นพรมชน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเริ่มดำเนินการทดลองตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค. 2553 – 20 มี.ค.2554 โดยใช้แผนแบบการทดลองสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ โดยมีตัวแปรตามเป็นคุณภาพของผลองุ่น ได้แก่ ขนาด น้ำหนัก ความหวาน และสีของผลองุ่น มีจำนวนผล/พวง เป็นปัจจัยทดลองทั้งหมด 4 วิธีทดลอง ได้แก่ การปลิดผลองุ่นทิ้งโดยให้เหลือจำนวนผลไว้ 60, 70, 80 และ 90 ผล/พวง ตามลำดับ และมีลักษณะพื้นที่เพาะปลูกเป็นปัจจัยแบ่งบล็อค ซึ่งแบ่งเป็นแปลงที่ราบ และแปลงที่ดอน แล้วใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวนหาความสัมพันธ์ของจำนวนผล/พวง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อขนาด น้ำหนัก และความหวานขององุ่น ใช้เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุเพื่อพยากรณ์จำนวนผลที่เหมาะสมที่สุดต่อคุณภาพในด้านดังกล่าว ใช้เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบเรียงลำดับหาความสัมพันธ์ของจำนวนผล/พวง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อสี รวมถึงจำนวนผลที่เหมาะสมที่สุดต่อสีของผลองุ่น และจากการทดลองดังกล่าวพบว่า จำนวนผล/พวง ลักษณะพื้นที่เพาะปลูก และอิทธิพลร่วมระหว่างจำนวนผล/พวงและลักษณะพื้นที่เพาะปลูก มีความสัมพันธ์ต่อขนาด น้ำหนัก ความหวาน และสีของผลองุ่นอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยพบว่าในแปลงที่ราบ องุ่นจะให้ขนาด น้ำหนักและสี มากกว่าแปลงที่ดอน แต่พบว่าทั้ง 2 แปลงให้ความหวานไม่แตกต่างกัน และพบว่าจำนวนผลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับองุ่นไร้เมล็ดพันธุ์แบล๊คโอปอล์ที่ทำให้ได้องุ่นที่มีคุณภาพดีมากที่สุด คือ 60 ผล/พวง และสามารถพยากรณ์ได้ว่า ขนาด น้ำหนัก สี และความหวานขององุ่นจะแปรผกผันกับจำนวนผล/พวง
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ