![]() |
การศึกษารูปแบบการสอนของอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ระดับอุดมศึกษา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การศึกษารูปแบบการสอนของอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ระดับอุดมศึกษา |
Creator | นิภากร ธาราภูมิ |
Contributor | วัชรินทร์ ฐิติอดิศัย |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | ศิลปกรรมกับประวัติศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน, ผู้เชี่ยวชาญ, การสอน, Art and history -- Study and teaching, Specialists, Teaching |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสอนของผู้เชี่ยวชาญวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ในระดับอุดมศึกษา ใช้เทคนิคการวิจัยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จากอาจารย์ผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย ประวัติศาสตร์ศิลป์ตะวันออก และประวัติศาสตร์ศิลป์ตะวันตกในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ที่มีการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ครบทั้ง 3 วิชา ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 17 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เกี่ยวกับรูปแบบการสอนของผู้เชี่ยวชาญวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์การเรียนการสอน 2) เนื้อหาการเรียนการสอน 3) วิธีดำเนินการเรียนการสอน 4) สื่อการเรียนการสอน และ 5) การวัดและประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และสรุปหาฉันทามติเกี่ยวกับรูปแบบการสอนของผู้เชี่ยวชาญวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า 1) วัตถุประสงค์การเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ เทคนิค วิธีการ แนวความคิด รูปแบบ ของงานศิลปะ ผู้เรียนตระหนักถึงคุณค่า ภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่น มีทักษะการค้นคว้า การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีหลักการ และเหตุผล 2) เนื้อหาการเรียนการสอน ควรครอบคลุมทั้งแหล่งกำเนิด รูปแบบ อิทธิพลการเชื่อมต่อของแต่ละยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยแหล่งข้อมูลที่ใช้สอนมาจาก เอกสารตำรา หนังสือ บทความทางวิชาการทั้งของไทย และต่างประเทศ การไปศึกษาจากสถานที่จริง 3) วิธีดำเนินการเรียนการสอน เป็นแบบบูรณาการ ทั้งการบรรยาย อภิปราย และศึกษาด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดวิเคราะห์ และสรุปข้อมูลอย่างมีหลักการและเหตุผล และการไปศึกษายังสถานที่จริง ประกอบการบรรยาย 4) สื่อการเรียนการสอน ภาพประกอบการบรรยาย ภาพถ่ายจากสถานที่จริง เอกสาร ตำราวิชาการ หรือจากทางอินเตอร์เน็ต ทั้งนี้สื่อการสอนที่ดีที่สุด คือ การนำผู้เรียนไปศึกษายังสถานที่จริง 5) การวัดและประเมินผล ด้านพุทธิพิสัยใช้ข้อสอบทั้งปรนัยและอัตนัย ด้านจิตพิสัยเป็นรายงาน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ด้านทักษะพิสัย ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์อย่างมีหลักการและเหตุผล และสามารถนำมาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียนได้ ทั้งนี้รูปแบบการสอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ยังขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษาศิลปะ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มวิชาทฤษฏีศิลป์ กลุ่มวิชาศิลปศึกษา กลุ่มวิชาการสร้างสรรค์ ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1)วิธีการสอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ ไม่ควรให้ผู้เรียนท่องจำ ควรฝึกให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ฝึกให้แสดงความคิดเห็น และยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างโดยการอภิปราย 2) อาจารย์ผู้สอน จะต้องเอาใจใส่ในการสอน มีประสบการณ์ในการให้คำแนะนำทางวิชาการ มีความรับผิดชอบ และการติดตามข่าวสารที่เป็นปัจจุบัน ศึกษา ค้นคว้า วิจัยทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์อยู่เสมอ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |