![]() |
การศึกษาลักษณะของผู้สอบและข้อสอบที่มีต่อเวลาและความถูกต้องในการตอบข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การศึกษาลักษณะของผู้สอบและข้อสอบที่มีต่อเวลาและความถูกต้องในการตอบข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 |
Creator | ธัญลักษณ์ ตั๊งถาวรการ |
Contributor | โชติกา ภาษีผล |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), คณิตศาสตร์ -- ข้อสอบ, Mathematics -- Study and teaching (Secondary) |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความถูกต้องในการตอบข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ที่มีลักษณะของข้อสอบแตกต่างกัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีลักษณะของผู้สอบต่างกัน 2) วิเคราะห์เวลาที่ใช้ในการตอบข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ที่มีลักษณะของข้อสอบแตกต่างกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีลักษณะของผู้สอบต่างกันและ 3) วิเคราะห์เวลาที่ใช้ในการตอบข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้ถูกต้องในข้อสอบที่มีลักษณะของข้อสอบแตกต่างกัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีลักษณะของผู้สอบต่างกัน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 386 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดความวิตกกังวล 1 ฉบับ และแบบทดสอบฉบับคอมพิวเตอร์ (E-test) จำนวน 4 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) เมื่อเปรียบเทียบการทำข้อสอบได้ถูกต้อง พบว่า ผู้ที่มีความสามารถสูงทำข้อสอบได้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ที่มีความวิตกกังวลต่ำทำตอบข้อสอบได้ถูกต้องมากกว่าผู้ที่มีความวิตกกังวลปานกลางและสูง ส่วนด้านลักษณะของข้อสอบ ข้อสอบที่ค่อนข้างง่ายสามารถตอบได้ถูกต้องสูงสุด ข้อสอบรูปแบบประเพณีนิยมสามารถตอบได้ถูกต้องมากกว่ารูปแบบตัดตัวลวง สำหรับข้อสอบที่มี 4 กับ 5 ตัวเลือก สามารถตอบได้ถูกต้องไม่ต่างกัน ยกเว้นในผู้ที่มีความสามารถต่ำสามารถตอบข้อสอบที่มี 4 ตัวเลือกได้มากกว่า 5 ตัวเลือก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 2) เมื่อเปรียบเทียบเวลาที่ใช้ในการทำข้อสอบ พบว่า ผู้สอบที่มีความสามารถปานกลางใช้เวลามากกว่าผู้ที่มีความสามารถต่ำ สำหรับผู้ที่มีความวิตกกังวลต่ำใช้เวลามากที่สุด รองลงมาคือผู้ที่มีความวิตกกังวลปานกลางและสูงตามลำดับ ส่วนด้านลักษณะของข้อสอบ ข้อสอบที่ค่อนข้างยากใช้เวลามากกว่าข้อสอบที่มีความยากง่ายปานกลางและข้อสอบค่อนข้างง่าย ข้อสอบรูปแบบประเพณีนิยมใช้เวลามากกว่าข้อสอบรูปแบบตัดตัวลวง และข้อสอบที่มี 5 ตัวเลือกใช้เวลามากกว่าข้อสอบที่มี 4 ตัวเลือก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 3) เมื่อเปรียบเทียบเวลาที่ใช้ในการทำข้อสอบได้อย่างถูกต้อง พบว่า ในการทำข้อสอบค่อนข้างง่ายและข้อสอบที่มีความยากง่ายปานกลางของผู้ที่มีความสามารถสูงและปานกลางใช้เวลาในการตอบข้อสอบให้ถูกต้องน้อยกว่าผู้ที่มีความสามารถต่ำ สำหรับผู้ที่มีความวิตกกังวลต่ำใช้เวลามากที่สุด รองลงมาคือผู้ที่มีความวิตกกังวลปานกลางและสูงตามลำดับ ส่วนด้านลักษณะของข้อสอบ ข้อสอบที่ค่อนข้างยากใช้เวลามากกว่าข้อสอบที่มีความยากง่ายปานกลางและข้อสอบค่อนข้างง่าย และข้อสอบที่มี 5 กับ 4 ตัวเลือกใช้เวลาในการตอบข้อสอบให้ถูกต้องไม่แตกต่างกัน |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |