คุณสมบัติของพิษปลากระเบนราหู (Himantura Chaophraya, Monkolprasit and Roberts, 1990) ในประเทศไทย
รหัสดีโอไอ
Title คุณสมบัติของพิษปลากระเบนราหู (Himantura Chaophraya, Monkolprasit and Roberts, 1990) ในประเทศไทย
Creator พนมพร แสนประเสริฐ
Contributor นันทริกา ชันซื่อ
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword ปลากระเบน, ปลากระเบนราหู, Stingrays, Himantura Chaophraya, Giant freshwater stingray
Abstract ปลากระเบนเป็นปลากระดูกอ่อนเช่นเดียวกับปลาฉลาม ในบางตัวพบว่าบนหางมีเงี่ยงที่มีหนามแหลมลักษณะคล้ายเลื่อยและมีเยื่อบุผิวปกคลุมโดยรอบ เงี่ยงของปลากระเบนบางสายพันธุ์มีพิษ จากรายงานที่ผ่านมาพบว่ามีปลากระเบนกว่า 70 สายพันธุ์ทั่วโลก โดยที่พบปลากระเบนจำนวน 7 สายพันธุ์ในประเทศไทย ซึ่งปลากระเบนราหูเป็นปลากระเบนสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและถูกจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ที่หายากและมีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์โดยสมัชชาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาถึงความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเนื่อเยื่อบริเวณรอบเงี่ยงโดยอาศัยวิธีการโซเดียมโดเดซิลซัลเฟตพอลีอะคริลาไมด์อิเล็กทรอฟอเรซีส(SDS-PAGE หรือ Sodium dodecyl sulfate polyacrylamide gel electrophoresis) ซึ่งผลการทดลองบ่งชี้ว่าเนื่อเยื่อที่ขูดได้จากเงี่ยงและเมือกที่ขูดได้จากบริเวณรอบตัวยกเว้นส่วนของเงี่ยงนั้นประกอบด้วยโปรตีนหลายชนิดที่คล้ายกัน (น้ำหนักโมเลกุล 25 kDa, 50 kDa และมากกว่า 75 kDa) พบแถบโปรตีนอย่างต่ำ 16 แถบอยู่บนเจลที่ได้จากเนื้อเยื่อหุ้มรอบเงี่ยง ส่วนแถบโปรตีนที่พบเฉพาะในเจลที่ได้จากเนื้อเยื่อรอบเงี่ยงแต่ไม่พบบนเจลที่ได้จากเมือกรอบตัวมีน้ำหนักโมเลกุลอยู่ที่ประมาณ 15 kDa งานวิจัยนี้ยังได้นำเอาเงี่ยงของปลากระเบนราหูมาวิเคราะห์โดยวิธีการทางพยาธิวิทยาและย้อมสีพิเศษได้แก่ PAS และ Alcian blue พบว่าเซลล์คัดหลั่งพิษชนิดพิเศษกระจายอยู่ในเยื่อบุผิวรอบเงี่ยงและย้อมไม่ติดสีทั้ง PAS และ Alcian blue แต่เซลล์เยื่อบุผิวทั่วไปย้อมติดสี PAS และ Alcian blue
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ