![]() |
ผลกระทบของอุทกภัยต่อพื้นที่ปลูกสร้างและโครงสร้างพื้นฐานในเขตเมืองน่าน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ผลกระทบของอุทกภัยต่อพื้นที่ปลูกสร้างและโครงสร้างพื้นฐานในเขตเมืองน่าน |
Creator | วิสุทธิ์ ศิริพรนพคุณ |
Contributor | ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | อุทกภัย -- ไทย -- น่าน, การตั้งถิ่นฐาน -- ไทย -- น่าน, การป้องกันน้ำท่วม -- ไทย -- น่าน, Floods -- Thailand -- Nan, Land settlement -- Thailand -- Nan, Flood control -- Thailand -- Nan |
Abstract | น่านเป็นเมืองที่มีอายุเก่าแก่กว่า 600 ปี มีการผสานกันระหว่างพื้นที่อยู่อาศัยกับระบบการจัดการน้ำภายในเมือง โดยที่เมืองน่านมีความสำคัญในฐานะเป็นศูนย์กลางการปกครอง การค้าและการบริการของจังหวัด ต่อมามีความต้องการใช้ที่ดินเพิ่มขึ้น ทำให้การปลูกสร้างอาคารและระบบสาธารณูปโภคต่างๆขยายรุกล้ำไปยังพื้นที่ที่แต่เดิมใช้เป็นทางระบายน้ำและพื้นที่รับน้ำ ส่งผลให้เมืองน่านเกิดปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น เกิดความเสียหายต่อที่อยู่อาศัย พื้นที่เศรษฐกิจ สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญและถนนสายหลักภายในเมือง ส่งผลต่อกิจกรรมต่างๆและความเสียหายทางเศรษฐกิจของเมืองน่าน การศึกษานี้มุ่งเน้นถึงผลกระทบด้านกายภาพที่เกิดขึ้นจากอุทกภัยโดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาลักษณะทางภูมิศาสตร์ โครงสร้างและองค์ประกอบทางกายภาพของเมืองน่าน 2) ศึกษาสถานการณ์อุทกภัย ลักษณะการเกิดอุทกภัยและสาเหตุที่ทำให้เกิดอุทกภัยในเขตเมืองน่าน 3) วิเคราะห์ระดับความรุนแรงและผลกระทบของอุทกภัยต่อพื้นที่ปลูกสร้างและโครงสร้างพื้นฐานในเขตเมืองน่าน วิธีการศึกษาเป็นการวิเคราะห์ปริมาณน้ำฝน น้ำท่าและการใช้ประโยชน์ที่ดินร่วมกับการใช้โปรแกรม Nays2D Flood เป็นเครื่องมือในการจำลองสถานการณ์อุทกภัย เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการเกิดอุทกภัยและผลกระทบ จากการศึกษาพบว่าสาเหตุที่ทำให้เมืองน่านเกิดอุทกภัยใน พ.ศ.2549 และ พ.ศ.2554 คือปริมาณฝนที่ตกหนักบริเวณภูเขาด้านทิศตะวันตกของเมืองวัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดต่อวันได้ 103.3 มิลลิเมตร ประกอบกับการทำลายป่าต้นน้ำเป็นเหตุให้การไหลบ่าในแม่น้ำมีสูงขึ้น น้ำจึงล้นตลิ่งและไหลบ่าเข้าท่วมเมือง นอกจากนี้การรุกล้ำพื้นที่ระบายน้ำ การสร้างถนนขวางทางระบายน้ำ เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้อุทกภัยรุนแรงเพิ่มขึ้น และจากการศึกษาผลกระทบของอุทกภัยใน พ.ศ.2554 พบว่าระดับน้ำกับระยะเวลาท่วมขังมีความสัมพันธ์กัน โดยชุมชนที่น้ำท่วมสูง0.00-0.50เมตรประมาณ 1 วันมี 11 ชุมชน น้ำท่วมสูง0.50-1.50เมตรประมาณ 2 วันมี 12 ชุมชน น้ำท่วมสูงกว่า1.50เมตรนานกว่า 3 วันมี 3 ชุมชน และ 4 ชุมชนที่ไม่ถูกน้ำท่วม นอกจากนี้ความรุนแรงของอุทกภัยขึ้นอยู่กับลักษณะของอาคาร กล่าวคืออาคารที่มีการต่อเติมพื้นที่ใช้สอยชั้นใต้ถุนได้รับผลกระทบมากเนื่องจากไม่มีการถมดินและลักษณะภูมิประเทศเดิมเป็นพื้นที่ต่ำ ขณะที่อาคารที่สร้างขึ้นใหม่ในพื้นที่ซึ่งมีปัญหาน้ำท่วมมักปรับระดับดินให้สูงกว่าระดับน้ำที่เคยท่วม ส่งผลให้อุทกภัยมีแนวโน้มความรุนแรงขึ้นเนื่องจากพื้นที่ที่ถมสูงขึ้นขวางกั้นทางระบายน้ำ ทำให้น้ำที่ท่วมขังไม่สามารถไหลออกจากพื้นที่ได้อย่างสะดวก และทำให้ระดับน้ำท่วมเพิ่มสูงขึ้นและท่วมขังนานขึ้น ดังนั้นเพื่อลดผลกระทบควรกำหนดรูปแบบอาคารที่มีการยกใต้ถุนอาคารแทนการถมดินสูง รวมถึงกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยสำหรับเตรียมการก่อนการเกิดอุทกภัย |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |