![]() |
การประมาณอัตราผลผลิตซากพืชในป่าชายน้ำ ลำเซบาย จังหวัดยโสธร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การประมาณอัตราผลผลิตซากพืชในป่าชายน้ำ ลำเซบาย จังหวัดยโสธร |
Creator | ไชยรัตน์ บำรุงสุข |
Contributor | ศศิธร พ่วงปาน, พิพัฒน์ พัฒนผลไพบูลย์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | ป่าชายน้ำ -- ไทย -- ยโสธร, พืชชายน้ำ -- ไทย -- ยโสธร, Riparian forests -- Thailand -- Yasothon, Riparian plants -- Thailand -- Yasothon |
Abstract | ป่าชายน้ำเป็นป่าที่มีการท่วมของน้ำอย่างสม่ำเสมอในช่วงฤดูฝนพบได้มากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและเรียกว่า ป่าบุ่งป่าทาม ส่วนหนึ่งของผลผลิตทางนิเวศวิทยาประมาณได้จากอัตราผลผลิตซากพืชที่ร่วงหล่น แต่การท่วมของน้ำทำให้การประมาณอัตราผลผลิตซากพืชที่ร่วงหล่นจากกระบะรองรับซากพืชแบบธรรมดาทำได้ยาก จากการศึกษาอัตราผลผลิตซากพืชในป่าชายน้ำของปี พ.ศ. 2554 ได้แก่ ซากพืชที่ร่วงหล่น ซากพืชที่ถูกนำเข้ามา ซากพืชที่สะสมอยู่บนผิวดิน และซากพืชที่ถูกนำออกไปจากผิวดินในแปลงศึกษาขนาด 30×150 ตารางเมตรริมลำเซบาย จังหวัดยโสธร ซึ่งแบ่งเขตพื้นที่ศึกษาเป็น 3 เขตตามความสูงสัมพัทธ์ของพื้นที่และจำนวนวันที่น้ำท่วมได้แก่ Low zone, Middle zone และ High zone การศึกษาปริมาณซากพืชที่ร่วงหล่นด้วยกระบะรองรับซากพืชแบบธรรมดาและแบบลอยน้ำพบว่า การปรับกระบะรองรับซากพืชให้ลอยน้ำได้ในเขต Low zone และ Middle zone ไม่สามารถรับซากพืชที่ร่วงระหว่างช่วงน้ำท่วมได้ (กรกฎาคม-พฤศจิกายน) เนื่องจากกระบะลอยเสมอชั้นเรือนยอดของพืช ในขณะที่เขต High zone กระบะรองรับซากพืชแบบธรรมดาสามารถรับซากพืชที่ร่วงได้ตลอดทั้งปี จึงนำไปสู่การใช้สมการความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณซากพืชที่ร่วงหล่นรายเดือนกับปัจจัยสภาพภูมิอากาศเพื่อประมาณปริมาณซากพืชที่ร่วงหล่นระหว่างช่วงน้ำท่วม และจากการศึกษาโครงสร้างป่าพบว่าเขต Low zone และ Middle zone มีโครงสร้างของเรือนยอดชั้นล่างที่ประสานกันแน่น ซึ่งมีผลในการกั้นซากพืชจากเรือนยอดชั้นบนสู่กระบะรองรับซากพืชที่อยู่ภายใต้เรือนยอดชั้นล่าง การคำนวณอัตราผลผลิตซากพืชรายปีจึงปรับปริมาณซากพืชบริเวณเรือนยอดที่ประสานกันแน่นรวมด้วย อัตราผลผลิตซากพืชที่ร่วงหล่นมีค่ามากที่สุดในเขต High zone เท่ากับ 11.93 ตัน/แฮกแตร์/ปี รองมาในเขต Low zone และ Middle zone มีค่าเท่ากับ 11.48 และ 6.30 ตัน/แฮกแตร์/ปี ตามลำดับ การศึกษาซากพืชที่ถูกนำเข้ามาที่เก็บจากพื้นที่ใต้กระบะรองรับซากพืช และซากพืชที่สะสมอยู่บนผิวดินที่เก็บจากพื้นป่าข้างกระบะรองรับซากพืชพบว่ามีปริมาณมากที่สุดในเขต Low zone รองลงมาคือเขต High zone และ Middle zone ซึ่งเป็นผลมาจากความลาดชันที่น้อยของพื้นป่าและการมีอยู่ของโครงสร้างเรือนยอดที่ประสานกันแน่นจำนวนมากจึงขวางการพัดพาซากพืชจากน้ำท่วมในเขต Low zone ในการศึกษาครั้งนี้สามารถอธิบายพลวัตของซากพืชของเขต Low zone มีซากพืชที่ถูกนำเข้ามาบนผิวดินเข้าสู่พลวัตซากพืชเป็นส่วนใหญ่คิดเป็น 56.4% ของปริมาณซากพืชรายปี ซึ่งซากพืชส่วนใหญ่ถูกนำเข้ามาบนผิวดินภายหลังน้ำท่วม ในขณะที่เขต Middle zone และ High zone ซากพืชที่เข้าสู่พลวัตซากพืชส่วนใหญ่คือซากพืชที่ร่วงหล่น สำหรับซากพืชที่ถูกนำออกไปจากผิวดินเขต Middle zone มีค่ามากที่สุดคิดเป็น 38.0% ของปริมาณซากพืชรายปี เนื่องจากเป็นเขตที่มีพื้นที่ลาดชันสูงซากพืชจึงถูกนำออกไปจากผิวดินได้ง่ายหลังน้ำลด แต่สำหรับ High zone ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมน้อย สรุปได้ว่าซากพืชมีการเคลื่อนย้ายเฉพาะภายในเขตเนื่องจากมีปริมาณซากพืชที่ร่วงไม่แตกต่างจากซากพืชที่สะสมอยู่บนผิวดิน |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |