เอกโซพอลิแซ็กคาไรด์จากแล็กติกแอซิดแบคทีเรียและการประยุกต์ในน้ำสลัด
รหัสดีโอไอ
Title เอกโซพอลิแซ็กคาไรด์จากแล็กติกแอซิดแบคทีเรียและการประยุกต์ในน้ำสลัด
Creator วิชชุดา วิไลรัศมี
Contributor สุเทพ ธนียวัน
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword โพลิเมอร์ชีวภาพ, โพลิแซ็กคาไรด์, โพลิแซ็กคาไรด์จากจุลินทรีย์, เอกโซโพลิแซ็กคาไรด์จากจุลินทรีย์, แบคทีเรียกรดแล็กติก, น้ำสลัด, Biopolymers, Polysaccharides, Microbial polysaccharides, Microbial exopolysaccharides, Lactic acid bacteria, Salad dressing
Abstract งานวิจัยนี้ได้คัดแยกแล็กติกแอซิดแบคทีเรียที่สามารถผลิตเอกโซพอลิแซ็กคาไรด์จากผักดองโดยคัดแยกได้ 8 ไอโซเลต คือ L01- L08 จากการศึกษาสมบัติทางเคมีและกายภาพของเอกโซพอลิแซ็กคาไรด์ พบว่า เอกโซพอลิแซ็กคาไรด์ทั้งหมดมีสมบัติคล้ายกัน คือ มีองค์ประกอบเป็นน้ำตาลกลูโคส ละลายน้ำได้ปานกลาง ยกเว้น พอลิแซ็กคาไรด์จาก L07 ที่ละลายน้ำได้ดี มีความหนืดต่ำ มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ และมีความเป็นอิมัลซิไฟเออร์ได้ดีเท่าแซนแทนกัม นอกจากนี้พบว่า L06 และL07 มีประสิทธิภาพในการผลิตเอกโซพอลิแซ็กคาไรด์มากที่สุด เท่ากับ 11.20 และ11.40 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ ในอาหารเลี้ยงเชื้อ MRS ที่มีซูโครสความเข้มข้น 4% โดยน้ำหนักต่อปริมาตร จึงได้คัดเลือกไอโซเลต L06 และ L07 มาพิสูจน์เอกลักษณ์ทางอนุกรมวิธานและศึกษาสมบัติเพิ่มเติม จากการพิสูจน์เอกลักษณ์ทางอนุกรมวิธาน พบว่า ไอโซเลต L06 และL07 เป็นแบคทีเรียในสกุล Weissella จากการศึกษาสมบัติเพิ่มเติมพบว่า พอลิแซ็กคาไรด์จาก L06 และ L07 ไม่สามารถก่อเจล มีประจุเป็นกลาง มีความสามารถการเป็นสารก่อการจับกลุ่มได้ดี สามารถคงตัวอิมัลชันกับน้ำมันมะกอกได้ดี ทนความร้อนได้สูง มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ มีพฤติกรรมการไหลเป็นชนิด non- Newtonian pseudoplastic และมีน้ำหนักโมเลกุลที่ใกล้เคียงกัน คือ 2.8 x10³ และ 3.3 x10³ ดาลตัน ตามลำดับ เมื่อพิจารณาสมบัติทั้งหมดแล้ว พบว่า สมบัติที่เหมาะสมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอาหารได้ คือ ความเป็นอิมัลซิไฟเออร์ และความสามารถคงตัวอิมัลชัน จึงได้นำ พอลิแซ็กคาไรด์จาก L06 และ L07 ที่ความเข้มข้น 0.4% โดยมวลต่อปริมาตร ไปประยุกต์ในน้ำสลัดที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะกอกพบว่า ขนาดอนุภาคของอิมัลชันในน้ำสลัดที่มีพอลิแซ็กคาไรด์จาก L06 และ L07 เท่ากับ 2.44 และ 2.92 ไมโครเมตร ตามลำดับ และคงตัวอิมัลชันในน้ำสลัดได้นาน 1 วัน ดังนั้นพอลิแซ็กคาไรด์จาก L06 และ L07 จึง สามารถเป็นสารอิมัลซิไฟเออร์ และสารคงตัวอิมัลชันสำหรับการประยุกต์ในอุตสาหกรรมอาหาร
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ