![]() |
การประยุกต์ใช้การกรองทรายแบบเร็วและแบบช้าในการบำบัดน้ำจากระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การประยุกต์ใช้การกรองทรายแบบเร็วและแบบช้าในการบำบัดน้ำจากระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ |
Creator | ธนากร อื้อมุกดากุล |
Contributor | พิสุทธิ์ เพียรมนกุล |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | การเพาะเลี้ยงในน้ำ, น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- การกรองแบบทรายกรองช้า, น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- การกรองแบบทรายกรองเร็ว, Aquaculture, Water -- Purification -- Slow sand filtration, Water -- Purification -- Rapid sand filtration |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอระบบการบำบัดน้ำที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยใช้ระบบ 2 ขั้นตอน คือ ถังกรองแบบกรองเร็วและแบบกรองช้า ในการประยุกต์ใช้เพื่อบำบัดน้ำเสียจากบ่อเพาะเลี้ยงปลานิล ผลการทดลองพบว่า ถังตกตะกอนที่มีอัตราเร็วน้ำล้น 4.07 เมตร/ชั่วโมง มีประสิทธิภาพในการกำจัดอนุภาคของแข็งแขวนลอยเท่ากับ 70 % ขณะที่ถังกรองแบบชั้นกรอง 2 ชั้น ที่มีถ่านแอนทราไซด์ขนาดสัมฤทธิ์ 2 มิลลิเมตร และทรายกรองน้ำขนาดสัมฤทธิ์ 0.5 มิลลิเมตร (ชั้นถ่านแอนทราไซด์หนา 0.15 เมตรและทรายกรองน้ำ 0.55 เมตร) พบว่า มีประสิทธิภาพการบำบัดสูงที่สุดเท่ากับ 93 % ระยะเวลาในการเดินระบบเท่ากับ 130 นาที ปริมาตรน้ำที่กรองได้และอัตราเร็วในการกรองเท่ากับ 445 ลิตร และ13.2 เมตร/ชั่วโมง ตามลำดับ แต่ถังกรองแบบกรองเร็วนั้นไม่สามารถกำจัดไนเตรทออกจากน้ำเสียได้ ทำให้มีการใช้ถังกรองแบบกรองช้าเพื่อใช้ในการบำบัดไนเตรท ซึ่งถังกรองทรายโดยทั่วไปที่มีอัตราเร็วในการกรองเท่ากับ 0.4 เมตร/ชั่วโมง ไม่สามารถกำจัดไนเตรทออกจากน้ำได้ ดังนั้นจึงมีการเติมเอทานอลเพื่อใช้เป็นแหล่งคาร์บอนสำหรับการเจริญเติบโตของจุลชีพในกระบวนการดีไนตริฟิเคชัน โดยมีการเติม เอทานอลลงไปในน้ำเสียก่อนเข้าสู่ถังกรองทรายแบบกรองช้า ผลการทดลองในส่วนถังกรองแบบกรองช้าพบว่า มีอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจนและอัตราเร็วในการกรองที่เหมาะสมเท่ากับ 2.1: 1 และ 0.2 เมตร/ชั่วโมง ตามลำดับ โดยเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ในการเดินระบบระหว่างถังกรองแบบชั้นกรอง 2 ชั้นและระบบบำบัดน้ำอื่นๆ ในการบำบัดน้ำปริมาตร 1,000 ลูกบาศก์เมตร พบว่า ระบบกรองใช้พื้นที่ในการเดินระบบเท่ากับ 61.34 ตารางเมตร ซึ่งน้อยกว่าระบบการตกตะกอนและระบบทำลายเสถียรภาพและรวมตะกอนที่ใช้พื้นที่ 119.05 ตารางเมตร และ155.1 ตารางเมตร ตามลำดับ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |