“ถึง” : การศึกษาเชิงประวัติ
รหัสดีโอไอ
Title “ถึง” : การศึกษาเชิงประวัติ
Creator กรองกานต์ รอดพันธ์
Contributor วิภาส โพธิแพทย์, มิ่งมิตร ศรีประสิทธิ์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword ภาษาไทย -- คำและวลี, ภาษาไทย -- ไวยากรณ์, Thai language -- Terms and phrases, Thai language -- Grammar
Abstract งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาคำว่า “ถึง” ในเชิงประวัติ โดยใช้ข้อมูลจากเอกสารที่ตีพิมพ์และเผยแพร่แล้วในช่วงระยะเวลาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์กระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำว่า “ถึง” จากคำกริยากลายเป็นคำไวยากรณ์ ผลการวิจัยพบว่า ในสมัยสุโขทัย คำว่า “ถึง” พบ ๒ หมวดคำ ได้แก่ คำกริยา และคำกึ่งกริยากึ่งบุพบท จากนั้นในสมัยอยุธยาคำว่า “ถึง” พบ๓ หมวดคำ ได้แก่ คำกริยา คำกึ่งกริยากึ่งบุพบท และคำเชื่อมอนุพากย์ และในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งแบ่งเป็น ๔ สมัย ได้แก่ (๑) สมัยรัชกาลที่ ๑-๓ (๒) สมัยรัชกาลที่ ๔-๕ (๓) สมัยรัชกาลที่ ๖-๘ และ (๔) สมัยปัจจุบัน คำว่า “ถึง” พบ ๕ หมวดคำ ได้แก่ คำกริยา คำกึ่งกริยากึ่งบุพบท คำบุพบท คำเชื่อมอนุพากย์ และคำขยาย ในแง่ความหมาย คำว่า “ถึง” มีความหมายเชิงศัพท์และความหมายเชิงไวยากรณ์ รวมทั้งสิ้น ๘ ความหมาย ได้แก่ (๑) บรรลุจุดหมาย (การเคลื่อนที่ที่เป็นรูปธรรม) (๒) บรรลุจุดหมาย (การเคลื่อนที่ที่เป็นนามธรรม) (๓) นับถือ (๔) คำแสดงจุดหมาย (ของความรู้สึกนึกคิด) (๕) คำแสดงจุดหมาย (ของสถานที่และเวลา) (๖) คำบอกความสำคัญ (๗) คำเชื่อมบอกผล และ (๘) คำเชื่อมบอกความขัดแย้ง ความหมายเหล่านี้มีความหมายมโนทัศน์ร่วมกัน นอกจากนี้ ผลการวิจัยกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำว่า “ถึง” พบว่า มีเส้นทางการเปลี่ยนแปลง ๔ เส้นทาง ได้แก่ (๑) คำกริยา “ถึง” กลายเป็นคำกึ่งกริยากึ่งบุพบท “ถึง” (๒) คำกริยา “ถึง” กลายเป็นคำบุพบท “ถึง” ( ๓) คำกริยา “ถึง” กลายเป็นคำขยาย “ถึง” (๔) คำกริยา “ถึง” กลายเป็นคำเชื่อมอนุพากย์ “ถึง” การที่คำกริยาถึงได้พัฒนาไปมีหน้าที่ทางไวยากรณ์ต่างๆ ได้นั้น เกิดจากกระบวนการย่อยๆ ทางอรรถศาสตร์ (เช่น การที่ความหมายเดิมจางลง การคงเค้าความหมายเดิม การเกิดความหมายทั่วไป) และทางวากยสัมพันธ์ (เช่น การวิเคราะห์ใหม่และการสูญลักษณะของหมวดคำเดิม) ทั้งนี้ คำว่า “ถึง” ยังมิได้เป็นคำไวยากรณ์โดยสมบูรณ์ เนื่องจากในสมัยปัจจุบันยังพบคำว่า “ถึง” ที่เป็นคำกริยาอยู่
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ