การวิเคราะห์การใช้สารอินทรีย์ของระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกร
รหัสดีโอไอ
Title การวิเคราะห์การใช้สารอินทรีย์ของระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกร
Creator กมลชนก สนิททรัพย์
Contributor พิชญ รัชฎาวงศ์, จักรกริศน์ เนื่องจำนงค์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword ก๊าซชีวภาพ, สุกร, Biogas, Swine
Abstract งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาการประเมินประสิทธิภาพการใช้สารอินทรีย์ และศึกษาการปล่อยสารอินทรีย์ของระบบผลิตก๊าซชีวภาพด้วยสมดุลมวลของซีโอดีจากฟาร์มสุกรแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี โดยจะเก็บข้อมูลจากการออกแบบและการเดินระบบผลิตก๊าซชีวภาพตามทฤษฎีและจากการสำรวจภาคสนามจริง เก็บตัวอย่างน้ำเสียจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพทั้งหมด 1,554 ตัวอย่าง เป็นระยะเวลา 9 เดือน นำมาวิเคราะห์หาค่าตัวแปรต่างๆ เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้สารอินทรีย์ของระบบผลิตก๊าซชีวภาพ พบว่า ระบบจริงมีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีละลายดีกว่าซีโอดีทั้งหมด โดยมีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีเฉลี่ยเท่ากับ 80.55 % ซีโอดีละลาย 85.59 % เมื่อพิจารณาจากค่าอัตราส่วนซีโอดีละลายต่อซีโอดีในน้ำเสียที่เข้าระบบพบว่า มีค่าเท่ากับ 0.27 แสดงให้เห็นว่าน้ำเสียที่เข้าระบบนั้น ซีโอดีจะอยู่ในรูปของแข็งมากกว่าในรูปของสารละลาย จากนั้นจึงนำข้อมูลทั้งหมดมาสร้างสมดุลมวลของซีโอดีเพื่อประเมินการปล่อยสารอินทรีย์ของระบบผลิตก๊าซชีวภาพทั้ง 3 สถานะ พบว่าระบบผลิตก๊าซชีวภาพมีการปล่อยสารอินทรีย์ในสถานะของเหลวเท่ากับ 418.90 กก.ซีโอดี/วัน สถานะของแข็งเท่ากับ 679.79 กก.ซีโอดี/วัน และสถานะก๊าซ โดยเป็นก๊าซชีวภาพที่เกิดจากระบบจริงเท่ากับ 1,459.38 ลบ.ม./วัน เมื่อใช้ค่าร้อยละของมีเทนเท่ากับ 53 จะได้ก๊าซมีเทนที่เกิดขึ้นจากระบบจริงเท่ากับ 773.47 ลบ.ม./วัน และมีปริมาณสารอินทรีย์ที่คงค้างอยู่ในระบบผลิตก๊าซชีวภาพเท่ากับ 1,868.83 กก.ซีโอดี/วัน ระบบจะต้องระมัดระวังการจัดการของแข็ง เนื่องจากระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดของแข็งโดยการตกตะกอนค่อนข้างสูง คิดเป็น 82.73%
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ