การทำลายความเป็นอิมัลชันของน้ำมันไบโอดีเซลในน้ำโดยอาศัยตัวกลางแบบเส้นใยไนลอนและเส้นใยพอลิโพรพิลีน
รหัสดีโอไอ
Title การทำลายความเป็นอิมัลชันของน้ำมันไบโอดีเซลในน้ำโดยอาศัยตัวกลางแบบเส้นใยไนลอนและเส้นใยพอลิโพรพิลีน
Creator กมลศักดิ์ เศวตโฆษิต
Contributor เจิดศักดิ์ ไชยคุนา
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword เชื้อเพลิงไบโอดีเซล, เส้นใยโพลิโพรพิลีน, ไนลอน, Biodiesel fuels, Polypropylene fibers, Nylon
Abstract การวิจัยนี้ทำเพื่อศึกษาปรากฏการณ์การแยกอิมัลชัน (Demulsification) ของน้ำมันไบโอดีเซลในน้ำโดยการใช้ตัวกลางที่มีลักษณะเป็นเส้นใย วัสดุที่สนใจศึกษาคือ ไนลอน (Nylon) และ พอลิโพรพิลีน (Polypropylene) เนื่องจากอิมัลชันของน้ำมันในน้ำมีเสถียรภาพสูง การแยกน้ำมันออกจากน้ำจึงทำได้ค่อนข้างยาก ทำการทดลองโดยการป้อนอิมัลชันของน้ำมันไบโอดีเซลในน้ำไหลเข้าหอแยกแนวตั้งที่บรรจุตัวกลางชนิดเส้นใยที่มีความหนาแน่น 1x10-4 กรัมต่อลูกบากศ์มิลลิเมตร ที่อุณหภูมิของอิมัลชัน 60 องศาเซลเซียล ความสูงของหอแยก 400, 800 และ 1,200 มิลลิเมตร และความเร็วของการไหลที่ 0.95, 2.30 และ 4.85 มิลลิเมตรต่อวินาที จากผลการศึกษาพบว่า การแยกอิมัลชันไบโอดีเซลในน้ำโดยใช้ตัวกลางชนิดเส้นใยไนลอน สามารถแยกน้ำมันไบโอดีเซลได้ร้อยละ 5.13 ถึงร้อยละ 11.65 โดยน้ำหนัก และ ตัวกลางชนิดเส้นใยพอลิโพรพิลีน สามารถแยกน้ำมันไบโอดีเซลได้ร้อยละ 12.61 ถึงร้อยละ 30.40 โดยน้ำหนัก วัสดุที่ให้ทำตัวกลางที่มีพลังงานพื้นผิว(Surface energy) ต่ำจะส่งผลให้ความสามารถในการแยกเพิ่มขึ้น และที่ความสูงของหอเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ความสามารถในการแยกเพิ่มขึ้น และเมื่อความเร็วของการไหลเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ความสามารถในการแยกเพิ่มขึ้น
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ