การเพิ่มการดูดซับสีย้อมธรรมชาติ จากเปลือกมะพูด Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz ของเส้นใยกัญชงโดยใช้ไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลต่ำ
รหัสดีโอไอ
Title การเพิ่มการดูดซับสีย้อมธรรมชาติ จากเปลือกมะพูด Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz ของเส้นใยกัญชงโดยใช้ไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลต่ำ
Creator ธนิยา ชูศิลป์
Contributor อุษา แสงวัฒนาโรจน์, มณฑล นาคปฐม
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword มะพูด (พืช), สีย้อมและการย้อมสี, สีย้อมจากพืช, ไคโตแซน, Garcinia dulcis, Dyes and dyeing, Dye plants, Chitosan
Abstract ในปัจจุบันนี้สีธรรมชาติได้รับความนิยมมากสำหรับนำมาใช้เป็นสีย้อมสิ่งทอเนื่องจากเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดต้นทุนและมีความเป็นพิษต่ำ งานวิจัยนี้จึงใช้ไคโตซานน้ำหนักโมเลกุลต่ำ (20,000-30,000 ดาลตัน) มาปรับสภาพเส้นด้ายใยกัญชงและย้อมสีด้วยสีย้อมสกัดจากเปลือกต้นมะพูด การทดลองในงานวิจัยนี้ประกอบด้วยการนำเส้นด้ายใยกัญชงมากำจัดสิ่งสกปรกและฟอกขาว แล้วนำเส้นด้ายมาปรับสภาพด้วยไคโตซาน (ปรับสภาพก่อนย้อม พร้อมย้อม และหลังย้อม) และย้อมด้วยน้ำสีย้อมสกัดจากเปลือกต้นมะพูดและผนึกสีด้วยสารช่วยสีติดชนิดสารส้ม ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การย้อมสีสกัดจากเปลือกต้นมะพูดบนเส้นด้ายใยกัญชงและผนึกสีด้วยสารส้ม จำเป็นต้องใช้ความเข้มข้นของสารส้มร้อยละ 10 จึงจะสามารถย้อมเส้นด้ายใยกัญชงได้สีเหลืองเข้มตามต้องการ ส่วนเส้นด้ายใยกัญชงที่ผ่านการปรับสภาพด้วยไคโตซานสามารถย้อมติดสีได้เข้มมากกว่าที่ไม่ได้ผ่านการปรับสภาพอย่างเห็นได้ชัด และวิธีที่ใช้ในการปรับสภาพเส้นด้ายใยกัญชงด้วยไคโตซาน 3 วิธี คือ การปรับสภาพก่อนย้อม พร้อมย้อมและหลังย้อม พบว่าวิธีการปรับสภาพก่อนย้อมเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด และภาวะในการปรับสภาพ ระหว่างการปรับสภาพที่อุณหภูมิ 32, 40, 50, 60 และ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที, 1 และ 2 ชั่วโมง พบว่าภาวะการปรับสภาพที่เหมาะสมที่สุดคือ ที่อุณหภูมิ 32 องศาเซลเซียสหรืออุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 30 นาที จากนั้นอบแห้งเส้นด้ายก่อนนำไปย้อมในน้ำสีสกัดจากเปลือกต้นมะพูด และผนึกสีด้วยสารส้ม การปรับสภาพเส้นด้ายและย้อมสีด้วยวิธีที่เหมาะสมนี้จะทำให้ได้เส้นด้ายใยกัญชงที่มีสีเหลืองเข้มมากกว่าและสีมีความคงทนต่อการซักและต่อแสงสูงกว่าเส้นด้ายที่ไม่ได้ปรับสภาพและย้อมสี แต่การปรับสภาพและการย้อมสีเส้นด้ายนี้ทำให้เส้นด้ายมีความทนแรงดึงขาดลดลงราวร้อยละ 30 จากเส้นด้ายที่ย้อมสีโดยไม่ได้ปรับสภาพก่อนย้อม
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ