การติดตามเป้าหมายด้วยกล้องส่าย-ก้มเงยที่ทำงานร่วมกัน
รหัสดีโอไอ
Title การติดตามเป้าหมายด้วยกล้องส่าย-ก้มเงยที่ทำงานร่วมกัน
Creator อดิศร ผาสุขมูล
Contributor สุภาวดี อร่ามวิทย์, ธนารัตน์ ชลิดาพงศ์, ศุภกร สิทธิไชย
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword กล้องวีดิทัศน์, วีดิทัศน์, Video tapes
Abstract การประมวลผลภาพวีดิทัศน์ระแวดระวังจากการทำงานร่วมกันของกล้องวีดิทัศน์เพื่อการติดตามบุคคลภายในอาคารมีบทบาทสำคัญในระบบระแวดระวังด้วยกล้องวีดิทัศน์ที่ชาญฉลาด สิ่งสำคัญสำหรับระบบการติดตามบุคคลด้วยกล้องวีดิทัศน์หลายตัว คือ การส่งต่อบุคคลจากกล้อง วีดิทัศน์ตัวหนึ่งสู่กล้องวีดิทัศน์อีกตัวหนึ่งด้วยความแม่นยำ แต่ในสถานการณ์ระแวดระวังที่กล้องวีดิทัศน์ในระบบมีมุมมองการรับภาพต่อบุคคลที่แตกต่างกัน อาจส่งผลให้การส่งต่อบุคคลระหว่างกล้องวีดิทัศน์นั้นผิดพลาดได้ เช่น การติดตั้งกล้องวีดิทัศน์ต่างสถานที่หรือต่างมุมมองการรับภาพ และการเคลื่อนที่ของบุคคล ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้ลักษณะข้อมูลของบุคคลที่ได้รับจากแต่ละกล้องวีดิทัศน์มีความแตกต่างกัน จึงเป็นสาเหตุหลักของการติดตามบุคคลระหว่างกล้องวีดิทัศน์ที่ล้มเหลว วิทยานิพนธ์นี้เรียกปัญหาดังกล่าวว่า ปัญหาที่เกิดจากการติดตามบุคคลจากผลกระทบที่มุมมองของกล้องวีดิทัศน์แต่ละตัวในระบบเป็นอิสระจากลักษณะของบุคคล เทคนิคการสะสมลักษณะของบุคคลด้วยข้อมูลสีจึงถูกนำเสนอเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการส่งต่อบุคคลระหว่างกล้องวีดิทัศน์ที่มีความแม่นยำมากขึ้น นอกจากนี้หากพบว่ามีกล้องวีดิทัศน์มากกว่าหนึ่งตัวสามารถทำการติดตามบุคคลเดียวกันได้ ระบบจะทำการคัดเลือกกล้องวีดิทัศน์ที่มีมุมมองการรับภาพต่อบุคคลดังกล่าวที่ดีที่สุดอย่างอัตโนมัติ ซึ่งวิทยานิพนธ์นี้ได้นำผลลัพธ์จากการคัดเลือกกล้องวีดิทัศน์มาใช้ในการติดตามบุคคลซึ่งอยู่ในความสนใจด้วยการเคลื่อนที่ของกล้องวีดิทัศน์แบบส่ายและก้มเงย การประเมินค่าระบบการติดตามบุคคลถูกคำนวณให้อยู่ในรูปของค่าความแม่นยำและค่าเรียกกลับ ซึ่งวิธีการที่นำเสนอให้ผลการทดลองที่มีความแม่นยำและสมบูรณ์กว่าวิธีการติดตามบุคคลด้วยการทำงานร่วมกันของกล้องวีดิทัศน์ที่ใช้ในการอ้างอิง
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ