การนำกลับโมลิบดีนัมจากตัวเร่งปฏิกิริยาเอชดีเอสใช้แล้วด้วยวิธีเคมีไฟฟ้า
รหัสดีโอไอ
Title การนำกลับโมลิบดีนัมจากตัวเร่งปฏิกิริยาเอชดีเอสใช้แล้วด้วยวิธีเคมีไฟฟ้า
Creator สโรชา บุญมีสุข
Contributor เก็จวลี พฤกษาทร
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword โมลิบดีนัม, ดีซัลเฟอไรเซชัน, ตัวเร่งปฏิกิริยา, การซึมชะละลาย, โลหวิทยาสารละลาย, เคมีไฟฟ้า, Molybdenum, Desulfurization, Catalysts, Leaching, Hydrometallurgy, Electrochemistry
Abstract ในงานวิจัยนี้ศึกษาหาภาวะที่เหมาะสมในการนำกลับโลหะโมลิบดีนัมจากตัวเร่งปฏิกิริยาเอชดีเอสด้วยวิธีการชะละลายร่วมกับวิธีเคมีไฟฟ้า ตัวแปรที่ศึกษาคือ ชนิดสารละลายอิเล็กโทรไลต์ ความเข้มข้นของสารละลายอิเล็กโทรไลต์ ความหนาแน่นของกระแสไฟฟ้า ชนิดขั้วไฟฟ้า และอัตราส่วนระหว่างตัวเร่งปฏิกิริยาเอชดีเอสต่อสารละลายอิเล็กโทรไลต์ ผลการทดลองได้ภาวะที่เหมาะสมในการนำกลับโมลิบดีนัมคือ กรดซัลฟิวริกที่ความเข้มข้น 2 โมลต่อลิตร ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า 132.70 แอมแปร์ต่อตารางเมตร ขั้วแคโทดคือ คาร์บอน และขั้วแอโนดคือ ไททาเนียมเคลือบรูทิเนียมออกไซด์ อัตราส่วนระหว่างของแข็งต่อสารละลายอิเล็กโทรไลต์คือ 1:20 ให้ปริมาณการละลายของโลหะโมลิบดีนัมสูงสุดที่ 2,287 มิลลิกรัม ในเวลา 180 นาที เมื่อทำการเปรียบเทียบปริมาณการชะละลายของโลหะโมลิบดีนัมที่สามภาวะการทดลอง คือ การชะละลายโดยตรง การชะละลายที่บรรจุตัวเร่งปฏิกิริยาไว้ภายในถุงผ้าโดยไม่ใส่กระแสไฟฟ้า และการชะละลายที่บรรจุตัวเร่งปฏิกิริยาไว้ภายในถุงผ้าโดยจ่ายกระแสไฟฟ้า พบว่าการจ่ายกระแสไฟฟ้าสามารถทำให้โลหะโมลิบดีนัมชะละลายได้ดีขึ้น แต่ปริมาณโลหะในสารละลายน้อยกว่าการชะละลายโดยตรง เนื่องจากการบรรจุตัวเร่งปฏิกิริยาเอชดีเอสภายในถุงผ้าทำให้ตัวอย่างของตัวเร่งปฏิกิริยาไม่ได้สัมผัสกับสารละลายโดยตรงและบางส่วนของโลหะโมลิบดีนัมอาจจะเกิดปฏิกิริยารีดักชันแยกที่ขั้วแคโทด
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ