ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดเบสต่อไพโรไลซิสน้ำมันถั่วเหลือง
รหัสดีโอไอ
Title ผลของตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดเบสต่อไพโรไลซิสน้ำมันถั่วเหลือง
Creator สรีร์ภรณ์ ปาลวัฒน์
Contributor ธราพงษ์ วิทิตศานต์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword การแตกตัวด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา, การแยกสลายด้วยความร้อน, น้ำมันถั่วเหลือง, Catalytic cracking, Pyrolysis, Soy oil
Abstract งานวิจัยนี้ศึกษาการแตกตัวเชิงเร่งปฏิกิริยาของน้ำมันถั่วเหลืองโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ชนิดเบส ในเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็ก 70 มิลลิลิตร เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อร้อยละและองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลว โดยออกแบบการทดลองเป็นแบบแฟกทอเรียลสองระดับ ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย อุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา 380 - 450 องศาเซลเซียส ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา(แมกนีเซียมออกไซด์และแคลเซียมออกไซด์) ร้อยละ 0.1 - 1.5 โดยน้ำหนัก ความดันไฮโดรเจนเริ่มต้น 1 - 5 บาร์ และระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา 30 - 60 นาที ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวที่ได้นำมาวิเคราะห์ปริมาณและองค์ประกอบด้วยเครื่อง Simulate Distillation Gas Chromatography (DGC) พบว่าเมื่อนำภาวะที่เหมาะสมที่ได้จากการคำนวณด้วยโปรแกรม design-expert มาทำการทดลองการแตกตัวเชิงเร่งปฏิกิริยาของน้ำมันถั่วเหลืองโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแมกนีเซียมออกไซด์และแคลเซียมออกไซด์ที่ภาวะการทดลองประกอบด้วย อุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา 406 และ 412 องศาเซลเซียส ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาร้อยละ 0.1 และ 0.1 โดยน้ำหนัก ความดันไฮโดรเจนเริ่มต้น 5 และ 1 บาร์ และระยะเวลาในการทําปฏิกิริยา 30 และ 30 นาที ตามลำดับ ได้ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวร้อยละ 83.11 และ 81.88 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ และองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวที่ได้ประกอบด้วยแนฟทาร้อยละ 15.97 และ 14.25 โดยน้ำหนัก และดีเซลร้อยละ 30.58 และ 29.67 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ