![]() |
ผลกระทบของการตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศต่อการใช้พลังงานการทำความเย็น ในอาคารที่มีการติดตั้งฉนวนชนิดต่างๆ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ผลกระทบของการตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศต่อการใช้พลังงานการทำความเย็น ในอาคารที่มีการติดตั้งฉนวนชนิดต่างๆ |
Creator | นุศรา มานะ |
Contributor | อรรจน์ เศรษฐบุตร |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | ความร้อน -- การถ่ายเท, เครื่องปรับอากาศ, การปรับอากาศ, อาคารสำนักงาน -- การปรับอากาศ, ที่อยู่อาศัย -- การปรับอากาศ, Heat -- Transmission, Air conditioning -- Equipment and supplies, Air conditioning, Office building -- Air conditioning, Housing -- Air conditioning |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศต่อการใช้พลังงานการทำความเย็นในอาคารสำนักงานและอาคารพักอาศัย ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร การวิจัยทำโดยการสำรวจข้อมูลในท้องตลาด เพื่อนำมาสร้างเป็นผังอาคารสำนักงานและอาคารพักอาศัยอ้างอิง(reference building) แล้วคำนวณพลังงานการทำความเย็นผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Visual DOE- 4.1 เพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูล (baseline) สำหรับเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานการทำความเย็นกับกรณีศึกษาอื่นๆ โดยมีตัวแปรในการศึกษาคือ 1. รูปแบบ ชนิดของวัสดุเปลือกอาคารและวัสดุฉนวน 2. สัดส่วนช่องเปิดต่อพื้นที่ผนังอาคาร(WWR) 3. ช่วงเวลาการเปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศ 4. การตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ(cooling set- point) และ 5. ปัจจัยทางความร้อนที่เกิดขึ้นภายในอาคาร(internal heat gain) จากการศึกษาพบว่า การเพิ่มค่าความเป็นฉนวนให้กับวัสดุเปลือกอาคาร เพิ่มอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ และการลดพื้นที่ช่องเปิดให้กับอาคาร สามารถลดการใช้พลังงานการทำความเย็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ทำการสร้างกรณีศึกษาเพิ่มเติม โดยเพิ่มสภาพความเป็นฉนวนให้กับเปลือกอาคารทั้งในส่วนผนังทึบ ผนังโปร่งใส และเพิ่มค่าปัจจัยทางความร้อนที่เกิดขึ้นภายในอาคาร ผลที่ได้พบว่าการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ และ WWR ไม่มีนัยยะสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงพลังงานการทำความเย็นในอาคาร กล่าวคือ พลังงานค่อนข้างคงที่ แม้จะมีการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ และ WWR ก็ตาม นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่าในอาคารสำนักงานกรณีศึกษาเพิ่มเติมที่มีช่องเปิดสูง เมื่อปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 22 หรือ 27 องศาเซลเซียส ส่งผลให้มีค่าการใช้พลังงานการทำความเย็นต่ำที่สุด ส่วนในอาคารสำนักงานที่มีช่องเปิดต่ำ การปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 23 หรือ 27 องศาเซลเซียส ก็ส่งผลให้มีค่าการใช้พลังงานการทำความเย็นต่ำที่สุดเช่นเดียวกัน และในอาคารพักอาศัย ระดับของการตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานการทำความเย็นสูงสุดในทุก WWR ยังคงเป็น 27 องศาเซลเซียส |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |