![]() |
แนวทางการบริหารโครงการปรับปรุงอาคารอนุรักษ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ : กรณีศึกษา 5 โครงการ ในช่วงปี พ.ศ.2548-พ.ศ. 2556 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | แนวทางการบริหารโครงการปรับปรุงอาคารอนุรักษ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ : กรณีศึกษา 5 โครงการ ในช่วงปี พ.ศ.2548-พ.ศ. 2556 |
Creator | รงรอง พุทธาวงศ์ |
Contributor | ไตรวัฒน์ วิรยศิริ, พร วิรุฬห์รักษ์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, โครงการก่อสร้าง -- การจัดการ, อาคาร -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม, Crown Property Bureau, Construction projects -- Management, Buildings -- Maintenance |
Abstract | สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นเจ้าของที่ดินและอาคารจำนวนมาก บนพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญ มีทั้งอาคารที่ขึ้นทะเบียนโบราณสถานของกรมศิลปากรและยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน ปัจจุบันยังมีการใช้งานอาคารอยู่อย่างหลากหลาย แต่ด้วยสภาพอาคารที่ทรุดโทรม จึงมีนโยบายปรับปรุงฟื้นฟูอาคารให้ดีขึ้นเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ วัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาการบริหารจัดการโครงการปรับปรุงฟื้นฟูอาคารอนุรักษ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยศึกษาจากลักษณะทางกายภาพ ขั้นตอนการบริหาร และขั้นตอนการดำเนินโครงการ เพื่อให้เข้าใจปัญหาและปัจจัยที่เกิดขึ้นของโครงการปรับปรุงอาคารที่ผ่านมาของสำนักงานทรัพย์สินฯ 5 โครงการ โดยจำแนกโครงการตามลักษณะการดำเนินโครงการได้ 3 ประเภท คือ โครงการที่ปรับปรุงอาคารตามสภาพเฉพาะภายนอกอาคาร คืออาคารแพร่งนราและแพร่งภูธร และอาคารตลาดนางเลิ้ง โครงการที่ปรับปรุงฟื้นฟูอาคารได้สำเร็จ คือ อาคาร 9 ห้องถนนพระอาทิตย์ อาคาร 29 ห้องถนนหน้าพระลาน และโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงฟื้นฟู คือ อาคารท่าเตียนที่มีลักษณะอาคารซับซ้อน และมีปัญหาอุปสรรคในการปรับปรุง เพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารโครงการที่เหมาะสมกับอาคารอนุรักษ์ และนำไปใช้เป็นแนวทางการบริหารให้โครงการที่มีลักษณะเดียวกัน ด้วยวิธีการศึกษาข้อมูลจากการสำรวจ สังเกต สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง และศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการศึกษาได้ว่าอาคารในกรณีศึกษามีลักษณะทางกายภาพ และขั้นตอนการดำเนินโครงการที่แตกต่างกัน โดยนำหลักการบริหารมาแก้ไขปัญหาที่พบในการบริหารโครงการต่อไป แต่ทุกกรณีศึกษากำหนดกรอบระยะเวลาโครงการตามปีงบประมาณที่เหมือนกัน ทำให้การดำเนินโครงการขาดความยืดหยุ่น ขาดคุณภาพ พบปัญหาด้านการกำหนดเป้าหมาย และขอบเขตงานไม่ครอบคลุมการทำงานทุกขั้นตอน ด้านการจัดทีมงาน บุคลากรขาดทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ ด้านการบริหารจัดการโยกย้ายคนในอาคาร ด้านการประสานงานการมีส่วนร่วม ด้านการขออนุญาต ด้านการควบคุมเวลา งบประมาณ และคุณภาพ จากปัญหาและปัจจัยดังกล่าว สามารถจำแนกรูปแบบการบริหารโครงการได้เป็นลักษณะการซ่อมแซมอาคาร และลักษณะการปรับปรุงฟื้นฟูอาคาร จึงเสนอแนะแนวทางการดำเนินโครงการจากวิธีการแก้ไขปัญหาโครงการที่ผ่านมาที่ต้องนำหลักการบริหารโครงการด้านการวางแผน การจัดทีมงาน การอำนวยการ การควบคุมมาใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะกายภาพอาคาร และแนวทางการปรับปรุง และสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์กับโครงการอื่นที่มีลักษณะเดียวกันได้ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |