![]() |
แบบจำลองเพื่อประเมินประดับการให้บริการของกลุ่มวิศวกรที่ปรึกษา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | แบบจำลองเพื่อประเมินประดับการให้บริการของกลุ่มวิศวกรที่ปรึกษา |
Creator | ชัชชล อัครพิมาน |
Contributor | วัชระ เพียรสุภาพ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | วิศวกร, บริษัทที่ปรึกษา, อุตสาหกรรมบริการ, Engineers, Consulting firms, Service industries |
Abstract | การให้บริการของกลุ่มวิศวกรที่ปรึกษาเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อคุณภาพของโครงการซึ่งมีผลต่อความพึงพอใจของเจ้าของงาน อย่างไรก็ตามกลุ่มวิศวกรของบริษัทที่ปรึกษาเดียวกันที่ให้บริการในโครงการก่อสร้างต่างๆ อาจมีระดับการให้บริการที่แตกต่างกัน เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น ประสบการณ์และการปฏิบัติงานของกลุ่มวิศวกรที่ปรึกษา เป็นต้น โดยระดับการให้บริการที่แตกต่างกันนี้อาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของบริษัทที่ปรึกษา ดังนั้นการพัฒนาและควบคุมระดับการให้บริการของกลุ่มวิศวกรที่ปรึกษาจึงมีความสำคัญ แต่จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า การประเมินระดับการให้บริการในอดีตนั้นใช้ความรู้สึกของผู้ประเมินในการให้คะแนนเป็นหลัก ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนในการประเมิน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดปัจจัยและพัฒนาเกณฑ์การประเมินระดับการให้บริการของกลุ่มวิศวกรที่ปรึกษา จากการศึกษาเอกสารงานวิจัยและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญสามารถสรุปรายการปัจจัยเบื้องต้นสำหรับการประเมินได้ทั้งหมด 34 รายการ จากนั้นผู้วิจัยทำการแบ่งรายการปัจจัยออกเป็นกลุ่มตามขั้นตอนการบริหารงานโครงการและการให้บริการทั่วไป และหาค่าถ่วงน้ำหนักความสำคัญของแต่ละรายการปัจจัยด้วยมาตรวัด 5 ระดับ ผลการวิเคราะห์พบว่ารายการปัจจัยที่มีความสำคัญต่อระดับการให้บริการคือ ประสบการณ์ของผู้จัดการโครงการ ความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสารสำหรับการส่งมอบงาน และการตรวจสอบและอนุมัติแบบสำหรับการก่อสร้าง เป็นต้น สำหรับการพัฒนาเกณฑ์การประเมินระดับการให้บริการในแต่ละรายการปัจจัยนั้นงานวิจัยนี้ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกในการรวบรวมเกณฑ์การประเมินและตรวจสอบความเหมาะสมของเกณฑ์การประเมินที่พัฒนาขึ้นด้วยเทคนิคเดลฟาย โดยเกณฑ์การประเมินที่พัฒนาขึ้นมี 2 ลักษณะคือ เกณฑ์เชิงคุณภาพและเกณฑ์เชิงปริมาณ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้นำผลของเกณฑ์การประเมินและค่าถ่วงน้ำหนักความสำคัญของรายการปัจจัยมาพัฒนาเป็นแบบจำลองเพื่อประเมินระดับการให้บริการของกลุ่มวิศวกรที่ปรึกษา สำหรับประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยนี้คือ กลุ่มวิศวกรที่ปรึกษาสามารถทราบระดับการให้บริการของตนเองและสามารถใช้ข้อมูลจากเกณฑ์การประเมินเพื่อพัฒนากระบวนการทำงานของตนเอง |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |