การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำ Jatropha curcas L. เร่งปฏิกิริยาด้วยยีสต์ Aureobasidium pullulans var. melanogenum
รหัสดีโอไอ
Title การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำ Jatropha curcas L. เร่งปฏิกิริยาด้วยยีสต์ Aureobasidium pullulans var. melanogenum
Creator วรรณิศา ลีลารุจิ
Contributor วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล, รุ่งทิวา เปี่ยมทองคำ
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2555
Keyword เชื้อเพลิงไบโอดีเซล, น้ำมันสบู่ดำ, ยีสต์, Biodiesel fuels, Yeast, Jatropha curcus oil
Abstract การศึกษาการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำ (Jatropha curcas L.) โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยายีสต์ Aureobasidium pullulans var. melanogenum แบบทั้งเซลล์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา พบว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการนำยีสต์ A. pullulans มาเร่งปฏิกิริยา คือชั่วโมงที่ 96 หลังจากเริ่มเลี้ยงยีสต์ A. pullulans ในอาหารเหลวสูตรสำหรับเลี้ยงเพื่อผลิตไลเพสหรือช่วงกลางของระยะคงที่ สามารถวัดค่ากิจกรรมของไลเพส และค่ากิจกรรมจำเพาะสูงสุดได้เท่ากับ 7.61±0.15 ยูนิตต่อมิลลิลิตร และ 9.67±1.21 ยูนิตต่อมิลลิกรัมโปรตีน ตามลำดับ โดยภาวะที่เหมาะสมต่อการเร่งปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันของตัวเร่งปฏิกิริยายีสต์ A. pullulans แบบทั้งเซลล์ คือ ที่อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาเท่ากับ 30 องศาเซลเซียส และอัตราส่วนโดยโมลของน้ำมันสบู่ดำต่อเมทานอลเท่ากับ 1:3 ที่เวลาในการเกิดปฏิกิริยา 72 ชั่วโมง พบว่าการเปลี่ยนเป็นไบโอดีเซล หรือเมทิลเอสเทอร์สูงสุดเท่ากับ 71.8±2.8 เปอร์เซ็นต์ การเพิ่มอุณหภูมิ และอัตราส่วนโดยโมลของน้ำมันสบู่ดำต่อเมทานอลเกินกว่าจุดที่เหมาะสม ส่งผลให้การเปลี่ยนเป็นไบโอดีเซล หรือ เมทิลเอสเทอร์มีปริมาณลดลง เนื่องจากระดับอุณหภูมิ และความเข้มข้นของเมทานอลที่สูงเกินไป จะทำให้ไลเพสซึ่งเป็นโปรตีนเกิดการเสียสภาพ และไม่สามารถเร่งปฏิกิริยาได้ ซึ่งการทำปฏิกิริยา ทรานส์เอสเทอริฟิเคชันโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยายีสต์ A. pullulans แบบทั้งเซลล์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นวิธีการผลิตไบโอดีเซลที่มีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับต้นทุนในการทำปฏิกิริยาที่ต่ำ อันเป็นผลมาจากสารตั้งต้น น้ำมันสบู่ดำเป็นน้ำมันที่รับประทานไม่ได้ มีราคาถูก การทำปฏิกิริยาใช้อุณหภูมิ และปริมาณเมทานอลที่ไม่สูง จึงไม่สิ้นเปลืองต้นทุนในการจัดเตรียม และที่สำคัญตัวเร่งปฏิกิริยายีสต์ A. pullulans แบบทั้งเซลล์ มีต้นทุนในการจัดเตรียมที่ต่ำกว่าการใช้ไลเพสทางการค้า เนื่องจากไม่ต้องผ่านการทำให้บริสุทธิ์ และการตรึงบนตัวค้ำจุนที่มีต้นทุนในการเตรียมที่สูง
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ