![]() |
การทดสอบคุณลักษณะของปูนทนไฟที่พัฒนาขึ้น |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การทดสอบคุณลักษณะของปูนทนไฟที่พัฒนาขึ้น |
Creator | ณัฐธริญา ชาติกานนท์ |
Contributor | สมชาย พัวจินดาเนตร |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2555 |
Keyword | วัสดุทนไฟ, ปูนซีเมนต์, อุตสาหกรรมการก่อสร้าง, Refractory materials, Cement, Construction industry |
Abstract | งานวิจัยนี้ได้ศึกษาส่วนผสมและคุณสมบัติของปูนทนไฟที่ผลิตขึ้นและเปรียบเทียบกับมาตรฐานของวัสดุทนไฟ ตามมาตรฐาน ASTM C401-91 และปูนทนไฟที่ใช้ในตลาดปัจจุบัน งานวิจัยได้เตรียมชิ้นงานปูนทนไฟที่มีส่วนผสมระหว่างอลูมินาซีเมนต์กับวัสดุผสมต่างๆได้แก่ เพอร์ไลท์ที่ 10, 20, 30, 40, 50, และ 60 เวอร์มิคูไลท์ที่ 10, 20, 30,40, 50, และ60 และโพลีสไตลีนโฟมที่ 1, 2, 3, 4, 5,7 และ 10 ส่วนในร้อยส่วนของอลูมินาซีเมนต์โดยน้ำหนัก นำส่วนผสมเติมน้ำและปั่นให้เข้ากัน เทส่วนผสมลงแบบหล่อ อบที่อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 24 ชั่วโมง ตรวจสอบความหนาแน่นรวมก้อน การทนต่ออุณหภูมิที่ 1,000 องศาเซลเซียส การนำความร้อน การทนต่อแรงดัด และแรงกด ผลการศึกษาพบว่า (1) ทุกส่วนผสมของปูนทนไฟสามารถทนอุณหภูมิที่ 1,000 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 3 ชั่วโมง ความหนาแน่นรวมก้อนมีค่าน้อยกว่า 1.04 กรัม/ลบ.ซม. และการหดตัวน้อยกว่า 1.5% ตามมาตรฐาน ASTM C401-91 (2) อิทธิพลของปัจจัยหลัก พบว่าปริมาณเพอร์ไลท์และเวอร์มิคูไลท์เพิ่มขึ้น มีผลให้คุณสมบัติด้านการทนต่อแรงกด แรงดัด และความหนาแน่นรวมก้อนลดลง (3) อิทธิพลของอันตรกิริยาระหว่างปัจจัย พบว่าเพอร์ไลท์และเวอร์มิคูไลท์ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการทนต่อแรงกดและแรงดัด และ (4) ส่วนผสมที่เหมาะสมสอดคล้องกับข้อกำหนดปูนทนไฟ คือการใช้ ปริมาณเพอร์ไลท์ 60, เวอร์มิคูไลท์ 40, และโพลีสไตลีนโฟม 4 ส่วนต่อร้อยส่วนอลูมินาซีเมนต์ ตามลำดับ ให้คุณสมบัติด้านการทนต่อแรงกดและแรงดัดเท่ากับ 6.03 และ 4.02 กก./ตร.ซม. ตามลำดับ และการนำความร้อนที่อุณหภูมิ 260, 538, และ 811องศาเซลเซียส เท่ากับ 0.12, 0.14, และ 0.18 วัตต์/เมตร-องศาเคลวิน ตามลำดับ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |