การพัฒนารูปแบบการบริหารที่เหมาะสมสำหรับสถาบันการอาชีวศึกษา
รหัสดีโอไอ
Title การพัฒนารูปแบบการบริหารที่เหมาะสมสำหรับสถาบันการอาชีวศึกษา
Creator ขวัญชัย พานิชการ
Contributor ปิยพงษ์ สุเมตติกุล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword การศึกษาทางอาชีพ, วิทยาลัยอาชีวศึกษา -- การบริหาร, Vocational education, Vocational education institutions -- Administration
Abstract ศึกษาพันธกิจและสภาพของสถาบันการอาชีวศึกษา รูปแบบการบริหารของสถาบันการศึกษาที่มีพันธกิจในการจัดการศึกษาใกล้เคียงกับสถาบันการอาชีวศึกษา และพัฒนารูปแบบการบริหารที่เหมาะสมสำหรับสถาบันการอาชีวศึกษา การศึกษาพันธกิจและสภาพของสถาบันการอาชีวศึกษา ใช้แบบสอบถามผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา คณะกรรมการการอาชีวศึกษาและคณะกรรมการคุณวุฒิวิชาชีพ จำนวน 257 คน การศึกษารูปแบบการบริหารของสถาบันการศึกษาที่มีพันธกิจในการจัดการศึกษาใกล้เคียงกับสถาบันการอาชีวศึกษา ใช้แบบสอบถามผู้บริหารมหาวิทยาลัย จำนวน 8 คน แล้วศึกษารูปแบบการบริหารที่เหมาะสมกับสถาบันการอาชีวศึกษาที่จะจัดตั้ง โดยนำข้อมูลที่ได้จากวิเคราะห์และสังเคราะห์มาจัดทำเป็นร่างรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม กับสถาบันการอาชีวศึกษาที่จะจัดตั้ง ตรวจสอบและประเมินรูปแบบความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยผู้เชียวชาญ และผู้มีส่วนได้เสียกับสถาบันการอาชีวศึกษาแล้วนำข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาชีวศึกษามาปรับปรุงรูปแบบการบริหารที่เหมาะสมสำหรับสถาบันการอาชีวศึกษาที่จะจัดตั้ง ให้มีความเหมาะสมและจัดสนทนากลุ่ม (Focus group) เพื่อพิจารณารูปแบบการบริหารที่เหมาะสมสำหรับสถาบันการอาชีวศึกษาที่จะจัดตั้งผลการวิจัยสรุปได้ว่า สถาบันการอาชีวศึกษาที่จะจัดตั้งควรมีลักษณะเป็นทั้งสถาบันเฉพาะทางและสถาบันสมบูรณ์แบบ จัดตั้งใหม่โดยการรวมสถานศึกษาหลายแห่งควรกระจายการจัดตั้งในทุกกลุ่มจังหวัด ควรเปิดสอนสาขาวิชาที่ตรงกับความต้องการของพื้นที่บริการ ควรมีพันธกิจ 6 ข้อ คือ 1) การจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษาในระดับ ปวช. ปวส. และปริญญาตรี 2) การบริการวิชาการแก่สังคมด้านอาชีวศึกษา 3) การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงด้านอาชีวศึกษา 4) การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านอาชีวศึกษา 5) การทำนุบำรุงภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 6) การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รูปแบบการบริหารควรเป็นรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ควรมีโครงสร้างการบริหารที่เป็นการกระจายอำนาจบริหารไปให้คณะวิชา/วิทยาลัย/หน่วยงานย่อย บริหารในลักษณะเป็นสถาบันที่เป็นส่วนราชการ ลักษณะสำคัญของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมควรมีลักษณะดังนี้ 1) ระดับของการกำหนดเป้าประสงค์ควรกำหนดโดยสถาบันหรือหน่วยงานย่อย 2) กระบวนการกำหนดเป้าประสงค์ควรเป็นความเห็นพ้องของผู้ร่วมงานและบุคลากร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าประสงค์กับการตัดสินใจควรอิงเป้าประสงค์ที่ตกลงร่วมกัน หรืออิงเป้าประสงค์ของสถาบันและหน่วยงานย่อย 4) ธรรมชาติของกระบวนการตัดสินใจควรตัดสินใจโดยใช้เหตุผล 5) ธรรมชาติของโครงสร้างควรมีโครงสร้างแนวนอน (มีลำดับชั้นการบังคับบัญชาน้อยชั้น) 6) การเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมควรเป็นสภาพแวดล้อมมีผลต่อการกำหนดค่านิยมร่วม หรืออาจมีหรือไม่มีขึ้นอยู่กับการตัดสินใจร่วมกัน 7) แบบของการนำควรเป็นผู้นำที่มุ่งหาความเห็นร่วม 8) รูปแบบภาวะผู้นำที่เกี่ยวข้องควรเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงแบบมีส่วนร่วมและมุ่งสัมพันธภาพ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ