![]() |
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางจริยธรรมสำหรับพยาบาลวิชาชีพ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางจริยธรรมสำหรับพยาบาลวิชาชีพ |
Creator | วรรธณา บุญประเสริฐ |
Contributor | อาชัญญา รัตนอุบล, สืบสกุล สอนใจ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | พยาบาล -- การศึกษานอกระบบโรงเรียน, ความฉลาดทางอารมณ์, จริยธรรม, ภาวะศีลธรรม |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางจริยธรรมสำหรับพยาบาลวิชาชีพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการในการเรียนรู้ของพยาบาลวิชาชีพ พัฒนารูปแบบการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน ทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ และวิเคราะห์ปัจจัยและเงื่อนไขของการนำรูปแบบการเรียนรู้ไปใช้ โดยผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ แนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและผลที่ได้จากการศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการในการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลขนาด 300 เตียง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 362 คน นำรูปแบบการเรียนรู้ที่ได้ตรวจสอบปรับปรุงแล้วไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพที่โรงพยาบาลบ้านแพ้ว(องค์การมหาชน) จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คน โดยกลุ่มทดลองให้ได้รับการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้เป็นเวลา 14 วัน และการเรียนรู้ตามรูปแบบจากการปฏิบัติงานจริงเป็นเวลา 21 วัน ประเมินผลการทดลองรูปแบบการเรียนรู้โดยการเปรียบเทียบคะแนนความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางจริยธรรมก่อนและหลังการเรียนรู้ของกลุ่มทดลอง และก่อนและหลังการเรียนรู้ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ด้วยสถิติค่า t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาพรวมผลการประเมินสภาพความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 362 คนอยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 3.92 และค่าเฉลี่ย 3.81 และความต้องการในการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 93.93 2. รูปแบบการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางจริยธรรมสำหรับพยาบาลวิชาชีพที่ได้จากการศึกษา ประกอบด้วยองค์ประกอบการเรียนรู้ คำว่า DREAM Group ซึ่งมี 6 องค์ประกอบ มาจาก Dialogue การเสวนา Reflection การสะท้อนความคิด Experience ประสบการณ์ Atmosphere บรรยากาศการเรียนรู้ Motivation แรงจูงใจ และGroup Process กระบวนการกลุ่ม โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้เป็นวงจรการเรียนรู้ 8 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย 2) การรับรู้ประสบการณ์ที่มีคุณค่า 3) การวิเคราะห์ตนเอง 4) การสะท้อนความคิดอย่างมีวิจารณญาน 5) การเสวนาเพื่อเปลี่ยนมุมมองใหม่ 6) การสร้างภาพพจน์ที่ดีต่อตนเอง 7) การสร้างแรงจูงใจ และ8) การปฏิบัติและฝึกฝนจนเป็นนิสัย 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองและคะแนนหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และความพึงพอใจโดยภาพรวมของรูปแบบระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.85 4. ผลการศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขของการนำรูปแบบการเรียนรู้ไปใช้ พบว่า ปัจจัยในการนำรูปแบบไปใช้ ได้แก่ ความต้องการในการพัฒนาตนเอง นโยบายผู้บริหารองค์กร แผนงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเงื่อนไขในการนำไปใช้ ได้แก่ ระยะเวลาในการเรียนรู้ แรงจูงใจของผู้เรียนและกระบวนการในกลุ่มการเรียนรู้ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |