การวิจัยและพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
รหัสดีโอไอ
Title การวิจัยและพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Creator รัชฎา ทับเทศ
Contributor สำลี ทองธิว, ฤดีรัตน์ ชุษณะโชติ
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ภาษาอังกฤษ -- การอ่าน, การเรียนรู้แบบประสบการณ์, ความเข้าใจในการอ่าน, การสอน -- วิจัย, นักเรียนประถมศึกษา
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้น โดยนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จำนวน 30 คน ใช้เวลาในการทดลอง 15 สัปดาห์ การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 5 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาพื้นฐานประสบการณ์ของนักเรียน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษ ระยะที่ 3 สร้างเอกสารประกอบรูปแบบฯและสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 4 การทดลองใช้รูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้น ระยะที่ 5 ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบการอ่านเพื่อความเข้าใจขนานกัน 4 ชุด แบบสังเกตพฤติกรรมการอ่าน แบบสัมภาษณ์ และบันทึกการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษาเป็นรูปแบบที่เน้นการใช้ความรู้และประสบการณ์ของนักเรียน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย กระบวนการเรียนการสอน และประเมินผลการใช้รูปแบบการสอน โดยกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน คือ ขั้นสร้างแรงจูงใจและกำหนดบริบท ขั้นรวบรวมและบันทึกคำศัพท์ ขั้นเตรียมความพร้อมก่อนการอ่าน ขั้นเชื่อมโยงภาษาพูดสู่ภาษาเขียน ขั้นฝึกอ่านเพื่อความเข้าใจ ขั้นขยายคลังศัพท์ผ่านการเรียนแบบร่วมมือ ขั้นประยุกต์และสร้างความรู้ ขั้นประเมินความรู้ความเข้าใจหลังการอ่าน 2. เมื่อนำรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า 2.1 นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเก่ง ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษามีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการเรียนไม่แตกต่างกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ