![]() |
วาทกรรมชายเป็นใหญ่ในภาพยนตร์ไทยที่ให้ความสำคัญแก่สตรี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | วาทกรรมชายเป็นใหญ่ในภาพยนตร์ไทยที่ให้ความสำคัญแก่สตรี |
Creator | พลากร เจียมธีระนาถ |
Contributor | ปัทมวดี จารุวร |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | วจนะวิเคราะห์, ภาพยนตร์ไทย, สตรีนิยม, Discourse analysis, Motion pictures, Thai, Feminism |
Abstract | ศึกษาภาพยนตร์ไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2543-2552 เพื่อมุ่งเน้นวิเคราะห์ถึงการผลิตซ้ำวาทกรรมชายเป็นใหญ่ ทั้งในส่วนที่ปรากฏอยู่อย่างชัดเจนและในระดับแฝงเร้น โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องของภาพยนตร์กลุ่มตัวอย่าง อันได้แก่ภาพยนตร์ไทยที่มีผู้หญิงเป็นตัวละครนำ และมุ่งเน้นนำเสนอคุณค่าของตัวละครหญิง หรือมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์สังคมชายเป็นใหญ่ ผลการวิจัยพบว่า ภาพยนตร์ในกลุ่มตัวอย่างผลิตซ้ำวาทกรรมชายเป็นใหญ่ในหลากหลายระดับซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละเรื่อง บางเรื่องมีมุมมองแบบปิตาธิปไตย ปรากฏอยู่ชัดเจนในระดับพื้นผิวอย่างพล็อตเรื่อง และการนำเสนอตัวละครตามภาพตายตัว ขณะที่บางเรื่องนำเสนอบทบาทของผู้หญิงที่ดูมีคุณค่าไม่แพ้ผู้ชาย ทว่าลึกๆ แล้วยังคงตกอยู่ภายใต้กรอบคิดแบบปิตาธิปไตย ตั้งแต่แรงปรารถนาของตัวละครหญิงซึ่งผูกโยงอยู่กับบทบาทหน้าที่ที่สังคมคาดหวัง ความขัดแย้งของเรื่องที่ยังคงพัวพันอยู่กับการไขว่คว้ามาซึ่งพลังอำนาจของเพศชายโดยตัวละครทั้งชายและหญิง มุมมองในการเล่าเรื่องที่ยังคงถูกครอบงำด้วยสายตาบุรุษเพศ ไปจนถึงการลดทอนสถานะของตัวละครทั้งชาย หญิง และเพศทางเลือก ที่แปลกแยกแตกต่างจากค่านิยมของสังคม ให้กลายเป็นเพียงสิ่งแปลกปลอมด้วยเทคนิคการนำเสนอรูปแบบต่างๆ ทั้งหวาดกลัว ตลกขบขัน ตื่นเต้นเร้าใจ หรือแม้กระทั่งยกย่องเชิดชูเกินจริง การวิจัยครั้งนี้จึงได้ข้อสรุปว่า ถึงแม้ภาพยนตร์ไทยร่วมสมัยจะพยายามปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก ด้วยการนำเสนอภาพของผู้หญิงยุคใหม่ที่ดูคล้ายหลุดพ้นเป็นอิสระจากการกดขี่โดยผู้ชาย ที่สุดแล้วภาพยนตร์เหล่านี้ก็ยังคงกักขังตนเองอยู่กับแนวคิดชายเป็นใหญ่ เพื่อตอบสนองต่อคติความเชื่อดั้งเดิมของผู้ชมต่อไป ในลักษณะที่แนบเนียนกว่าเดิมเท่านั้นเอง |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |