![]() |
การวิเคราะห์ภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาตามทัศนะของนักเรียน : การวิจัยแบบผสมวิธี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การวิเคราะห์ภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาตามทัศนะของนักเรียน : การวิจัยแบบผสมวิธี |
Creator | วชิรวิทย์ ยางไชย |
Contributor | อวยพร เรืองตระกูล |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | การศึกษาทางอาชีพ, ภาพลักษณ์องค์การ, วิจัยแบบผสมผสาน, Vocational education, Imagery (Psychology), Mixed methods research |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาตามความคิดเห็นของนักเรียน 2) วิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาระหว่างนักเรียนที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน และ 3) วิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาระหว่างนักเรียน ที่มีบริบทของโรงเรียนแตกต่างกัน แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะแรก เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการจัดสนทนากลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 18 คน เพื่อนำผลมาพัฒนาเป็นเครื่องมือวิจัย ระยะที่สอง เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 1,338 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือเครื่องบันทึกเสียง แบบบันทึกการสนทนากลุ่มและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติพื้นฐานและสถิติทดสอบเอฟแบบ One-way ANOVA ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1) นักเรียนมัธยมศึกษาเห็นว่าภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาโดยรวมทั้ง 8 ด้านอยู่ในระดับพอใช้ทุกด้าน โดยเรียงจากด้านที่มีภาพลักษณ์ดีสุดไปต่ำสุดพบว่า (1) ด้านหลักสูตรการศึกษามีภาพลักษณ์ดีสุด รองลงมา ได้แก่ (2) ด้านการจัดการเรียนการสอน (3) ด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม (4) ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ (5) ด้านสื่อการเรียนการสอน (6) ด้านผู้บริหารและคณาจารย์ (7) ด้านนักเรียนนักศึกษา และ (8) ด้านการศึกษาต่อ2) นักเรียนมัธยมศึกษาที่มีเพศ เกรดเฉลี่ย ระดับชั้น การศึกษาของผู้ปกครอง อาชีพของผู้ปกครองและรายได้ของผู้ปกครองต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาในแต่ละด้านต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า (1) เพศหญิงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาดีกว่าเพศชาย (2) นักเรียนที่มีผลการเรียนสูงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษา ดีกว่านักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำ 3) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษา ดีกว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (4) นักเรียนที่มีผู้ปกครองที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษา ดีกว่านักเรียนที่มีผู้ปกครองที่มีการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป (5) นักเรียนที่มีผู้ปกครองที่มีอาชีพพนักงานบริษัท อาชีพรับจ้าง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาดีกว่านักเรียนที่มีผู้ปกครองที่มีอาชีพอื่น (6) นักเรียนที่มีผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษา ดีกว่านักเรียนที่มีผู้ปกครองที่มีรายได้สูง 3) นักเรียนมัธยมศึกษาที่มีประเภทของโรงเรียน ที่ตั้งของโรงเรียนและภูมิภาคที่ต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษา ในแต่ละด้านต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า (1) นักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสสังกัด สพฐ. มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาดีกว่านักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด สพฐ. และนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด สช. (2) นักเรียนโรงเรียนในเมืองมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาดีกว่านักเรียนโรงเรียนนอกเมือง ยกเว้นภาพลักษณ์ของวิทยาลัยประเภทเกษตรกรรม ซึ่งนักเรียนในเมืองและนักเรียนนอกเมืองมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3) นักเรียนภาคกลางมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาดีกว่านักเรียนภาคอื่นๆ ยกเว้นด้านการศึกษาต่อที่นักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาดีกว่าภาคอื่น |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |